เกิด วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม (Ulm) ประเทศเยอรมนี (Germany)
เสียชีวิต วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 ที่เมืองนิวเจอร์ซี่ (New Jersey) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
ผลงาน - ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity)
- ค้นพบทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)
- ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1921
เสียชีวิต วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 ที่เมืองนิวเจอร์ซี่ (New Jersey) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
ผลงาน - ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity)
- ค้นพบทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)
- ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1921
ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ไอน์สไตน์ถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
อาจกล่าวได้ว่า เขาคือผู้ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระเบิดปรมาณูอันทรงอานุภาพ
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ไอน์สไตน์ได้ส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin
Delano Roosevelt) เกี่ยวกับแร่ยูเรเนียมที่สามารถนำมาสร้างลูกระเบิดซึ่งมีพลังงานการทำลายล้างรุนแรง
เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงคราม และนำสันติภาพ มาสู่โลกอีกครั้ง
ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกลงที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima)
ประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งส่งผลให้คนเสียชีวิตทันทีกว่า 60,000 คน และเสียชีวิตภายหลังอีกกว่า 100,000
คน
ไอน์สไตน์เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม ประเทศเยอรมนี ไอน์สไตน์เป็นชาวเยอรมันแต่ก็มีเชื้อสายยิว บิดาของไอน์สไตน์เป็นเจ้าของร้านจำหน่ายเครื่องยนต์และสารเคมี ชื่อว่า เฮอร์แมน ไอน์สไตน์ (Herman Einstein) ต่อมาเมื่อไอน์สไตน์อายุได้ 1 ขวบ บิดาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิวนิค ซึ่งส่วนใหญ่คนในเมืองจะเป็นชาวยิวเช่นเดียวกับเขา ทำให้เขาไม่มีปัญหากับเพื่อนบ้าน ไอน์สไตน์เป็นเด็กที่เงียบขรึม ไม่ค่อยชอบออกไปเล่นกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน จนบิดาเข้าใจว่าเขาเป็นคนโง่ จึงได้จ้างครูมาสอนพิเศษให้กับไอน์สไตน์ โดยเฉพาะเรื่องการพูด ถึงแม้ว่าการพูดของเขาจะดีขึ้น แต่เขาก็ยังเงียบขรึม และไม่ออกไปเล่นกับเพื่อนเหมือนเช่นเคย เมื่อไอน์สไตน์อายุได้ 5 ขวบ บิดาได้ส่งเข้าโรงเรียนที่ยิมเนเซียม (Gymnasium) นักเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ทั้งหมดเป็นชาวเยอรมัน และนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ถึงอย่างนั้นไอน์สไตน์ก็เข้ากับเพื่อนได้ดี แต่สิ่งที่เขาไม่ชอบมากที่สุดในโรงเรียน ก็คือการสอนที่น่าเบื่อและเกลี่ยดที่สุด ที่ใช้วิธีการท่องจำเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไอน์สไตน์ไม่อยากไปโรงเรียน มารดาจึงหาวิธีแก้ปัญหาโดยการให้เขาเรียนไวโอลินและเปียโนแทน แต่วิชาที่ ไอน์สไตน์ให้ความสนใจมากที่สุดคือ คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาเรขาคณิตเป็นวิชาที่เขาชอบมากที่สุด ทำให้เขาละทิ้งวิชาอื่น ยกเว้นคณิตศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดี เขาก็มักจะถูกครูตำหนิอยู่เสมอ
ต่อมาเมื่อไอน์สไตน์อายุได้ 15 ปี กิจการโรงงานของพ่อเริ่มแย่ลง เนื่องจากการรวมตัวของบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและเคมีหลายแห่ง ทำให้โรงงานของพ่อเขาไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ ครอบครัวของเขาต้องย้ายไปอยู่ที่เมืองมิลาน (Milan) ประเทศอิตาลี (Italy) แต่ไอน์สไตน์ไม่ได้ย้ายตามไปด้วย เพราะยังติดเรียนอยู่ หลังจากนั้นอีก 6 เดือน เขาได้วางแผนให้แพทย์ออกใบรับรองว่าเขาป่วยเป็นโรคประสาท เพื่อให้เขาได้เดินทางไปหาพ่อกับแม่ที่อิตาลี ไอน์สไตน์จึงเดินทางไปหาครอบครัว ต่อมาไอน์สไตน์ได้สอบเข้าเรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ที่วิทยาลัยโปลีเทคนิค เมืองซูริค (Federal Poleytechnic of Zurich) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไอน์สไตน์สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนดีมาก ส่วนวิชาชีววิทยาและภาษา ได้แย่มาก ทำให้ เขาไม่ได้รับคัดเลือกให้เข้าเรียนในวิทยาลัยแห่งนี้ ต่อมาเขาได้รับจดหมายจากครูใหญ่ของวิทยาลัยโปลีเทคนิค ได้เชิญเขาไปพบและแนะนำให้เขาไปเรียนต่อ เพื่อให้ได้ประการศนียบัตร หลังจากนั้นเขาจึงเข้าเรียนที่วิทยาลัยของสวิตเซอร์แลนด์ ตามหลักสูตร 1 ปี ระหว่างนี้เขาได้พักอาศัยอยู่กับครูผู้หนึ่งที่สอนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ ไอน์สโตน์รู้สึกชอบวิทยาลัยแห่งนี้มาก เพราะการเรียนการสอนเป็นอิสระไม่บังคับ แนวการสอนเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในการเรียนก็ดีมาก เพราะได้มีการจัดห้องเรียนเฉพาะสำหรับแต่ละวิชา เช่น ห้องเรียนภูมิศาสตร์ก็มีภาพแผนที่ สถานที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แขวนไว้ โดยรอบห้อง ส่วนห้องเคมีก็มีอุปกรณ์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย หลังจากที่เขาจบหลักสูตรที่โรงเรียนมัธยม 1 ปี ไอน์สไตน์ได้เข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยเทคนิคในสาขาวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ตามที่ได้ตั้งใจไว้
หลังจากจบการศึกษาแล้ว ไอน์สไตน์ได้สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค แต่ได้รับการปฏิเสธโดยไม่มีเหตุผล และด้วยความเห็นใจจากศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยซูริคได้ออกใบรับรองผลการศึกษาให้เข้า จากนั้นไอน์สไตน์ได้เริ่มออกหางานทำจากประกาศตามหน้าหนังสือพิมพ์ซึ่งมีประกาศรับอาจารย์หลายแห่ง ไอน์สไตน์ได้เข้ารับการสัมภาษณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีสถาบันแห่งใดรับเขาเข้าทำงานเลยแม้แต่สักที่เดียว ไอน์สไตน์เข้าใจว่าอาจจะเป็นเพราะเขาเป็นชาวยิว ดังนั้นในปี ค.ศ.1901 ไอน์สไตน์ได้โอนสัญชาติเป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถทำให้เขาหางานทำได้อยู่ดี ในที่สุดไอน์สไตน์ก็ได้งานทำเป็นครูในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง แต่ก็ทำอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็ถูกไล่ออก เขาจึงรับจ้างเป็นครูสอนพิเศษตามบ้าน แต่ก็ทำได้ไม่นานก็ถูกพ่อแม่ของเด็กเลิกจ้างอีก เนื่องจากไอน์สไตน์ได้แสดงความคิดเห็นว่าไม่ควรให้เด็กไปเรียนที่โรงเรียนอีก เนื่องจากครูที่โรงเรียนสอนคณิตศาสตร์ในแบบผิด ๆ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ไอน์สไตน์สอน ถึงแม้ว่าเด็ก ๆ จะรักและชอบ วิธีการสอนของเขาก็ตาม
ต่อมาในปี ค.ศ.1902 ไอน์สไตน์ได้เจอกับเพื่อนเก่าคนหนึ่งได้ฝากงานที่สำนักงานจดทะเบียนสิทธิบัตรที่กรุงเบิร์น ถึงแม้ว่าไอน์สไตน์จะไม่ชอบงานที่นี่ แต่เขาก็ยังคงทำ จึงทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น และมีโอกาสได้พบกับสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่ ในระหว่างที่ไอน์สไตน์ทำงานอยู่ที่นี่ เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการประดิษฐ์สิ่งของ สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของไอน์สไตน์คือ "เครื่องมือบันทึกการวัดกระแสไฟฟ้า"
ในปี ค.ศ.1903 ไอน์สไตน์ได้แต่งงานกับมิเลวา มารี เพื่อนเก่าสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค และในปีเดียวกันนี้เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้กับนิตยสารเยอรมนีฉบับหนึ่ง และในปี ค.ศ.1905 บทความเรื่องของไอน์สไตน์ก็ได้รับความสนใจ และยกย่องอย่างมาก บทความเรื่องนี้เป็นของทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพลังงาน กับมวลสาร
โดยเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ E = mc2 โดย
E (Energy) = พลังงาน
m (mass) = มวลสารของวัตถุ
c = ความเร็วแสง
ทฤษฎีสัมพัทธภาพนี้เองต่อมาได้นำไปสู่การค้นคว้าเรื่อง "พลังงานปรมาณู" เพราะทฤษฎีนี้อธิบายว่ามวลเพียงเล็กน้อยของแร่ชนิดหนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลที่ใช้ในโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้อย่างสบาย ในระยะแรกที่ไอน์สไตน์เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจนัก แต่เมื่อไอน์สไตน์อธิบายให้ฟังด้วยวิธีง่าย ๆ ก็เกิดความเข้าใจมากขึ้น และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตขั้นเกียรตินิยมสูงสุด
ในปี ค.ศ.1909 เขาได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซูริค (Zurich University) ซึ่งไอน์สไตน์ตอบรับทันทีเนื่องจากเขาต้องการแสดงให้ทุกคนได้เห็นถึงความสามารถของเขา ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้เคยปฏิเสธเขามาแล้ว
ในปี ค.ศ.1911 ไอน์สไตน์ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยปราค (Prague) ในปีต่อมาไอน์สไตน์ได้รับเชิญจากวิทยาลัยเทคนิค ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของเขา ไอน์สไตน์ตกลงทันทีเนื่องจากเขาต้องการพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญของเขา ในระหว่างนี้มีมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ อีกหลายแห่งเชิญเขาไปสอน แต่เขาก็ปฏิเสธ และเขาได้ตอบรับเป็นศาสตราจารย์พิเศษสอนที่สถาบันไกเซอร์วิลเฮล์ม (Kaiser Wilhelm Institute) การที่เขาตอบรับครั้งนี้ เนื่องจากการได้สนทนากับพระเจ้าไกเซอร์ ผู้ก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ ไอน์สไตน์รู้สึกถูกอัธยาศัย ประกอบกับความสนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน และต่อมาอีก 2 ปี ไอน์สไตน์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการประจำสถาบันแห่งนี้
ในปี ค.ศ.1914 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทำให้เกิดความวุ่นวายโดยเฉพาะในยุโรป แต่ถึงอย่างนั้นในปี ค.ศ.1915 ไอน์สไตน์ก็ยังทำการค้นคว้าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และออกตีพิมพ์หนังสืออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า "ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of Relativity)" ซึ่งเป็นทฤษฎีที่หลายคนก็ไม่เข้าใจในทฤษฎีข้อนี้ แต่ด้วยความที่ไอน์สไตน์เป็นคนสุขุมเยือกเย็น เขาได้อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีในหลายลักษณะเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยสมมติว่า มีรถไฟ 2 ขบวน ขบวนหนึ่งจอดอยู่กับที่ อีกขบวนหนึ่งกำลังวิ่งสวนทางไป ผู้โดยสารที่อยู่บนรถไฟที่จอดอยู่อาจจะรู้สึกว่ารถไฟกำลังวิ่งอยู่ เพราะฉะนั้น อัตราเร็วและทิศทาง จึงมีความเกี่ยวข้องกัน
ในปี ค.ศ.1921 ไอน์สไตน์ได้เสนอผลงานออกมาอีกชิ้นหนึ่ง คือ "ทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)" ผลงานชิ้นนี้เองทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และรางวัลจากอีกหลายสถาบัน เช่น
- ค.ศ.1925 ได้รับเหรียญคอพเลย์ จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน
- ค.ศ.1926 ได้รับเหรียญทองราชดาราศาตร์
- ค.ศ.1931 ดำรงตำแหน่งนักค้นคว้าของวิทยาลัยไครสต์เชิร์ช แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด
- ค.ศ.1933 เขาได้รับเชิญจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของสถาบันบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ (Institute for Advance Study at Princeton, New Jersey)
นอกจากนี้ทฤษฎีของเขายังสามารถล้มล้างทฤษฎีของจอห์น ดาลตัน (John Dalton) นักฟิสิกส์และเคมีชาวอังกฤษที่ว่า "สสารย่อมไม่สูญหายไปจากโลก เพราะอะตอมเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร ซึ่งไม่สามารถจะแยกออกไปได้อีก" แต่ไอน์สไตน์ได้กล่าวว่า "สสารย่อมมีการสูญสลาย นอกจากพลังงานเท่านั้นที่จะไม่สูญหาย" เพราะพลังงานเกิดขึ้นจากการสสารที่หายไป และอะตอมไม่ใช่ส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร เพราะฉะนั้นจึงสามารถแยกออกได้อีก
ในปี ค.ศ.1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ไอน์สไตน์รู้สึกเสียใจมาก เนื่องจากเยอรมนีในฐานะผู้ก่อสงคราม และมีฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ฮิตเลอร์รังเกียจชาวยิว และกล่าวหาชาวยิวว่าเบียดเบียนชาวเยอรมันในการประกอบอาชีพ แต่ไอน์สไตน์ ก็ยังโชคดีเพราะว่าก่อนหน้านี้ ในปี ค.ศ.1933 ได้อพยพออกจากเยอรมนี เพราะในขณะนั้นฮิตเลอร์ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเยอรมนี และเริ่มขับไล่ชาวยิวออกจากเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 ไอน์สไตน์เห็นว่าสถานการณ์ไม่สู้ดีนักจึงเดินทางออกมา แต่ยังมีชาวยิวกว่า 2,000,000 คน ที่ยังอยู่ในเยอรมนีและถูกสังหารไปกว่า 1,000,000 คน
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามที่ยืดเยื้อนานกว่า 6 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร
ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และรัสเซีย และฝ่ายอักษะ ได้แก่
เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ต่อมาช่วงกลางปี ค.ศ.1945 เยอรมนี
และอิตาลีได้ยอมแพ้สงครามเหลือเพียงแต่ญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ยอมแพ้ ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งลูกระเบิดปรมาณู
เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม
ระเบิดปรมาณูได้ทดลองสร้างขึ้นในระหว่างสงครามครั้งนี้
ซึ่งมีไอน์สไตน์เป็นผู้ริเริ่มและควบคุมการผลิต
ลูกระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกได้ทำการทดลองทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายกว่า 150,000
คน
แต่ญี่ปุ่นยังไม่ประกาศยอมแพ้ ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งระเบิดอีก 1 ลูก ที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki)
ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 100,000
คน เช่นกัน ลูกระเบิด 2 ลูกนี้ ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามและปิดฉากสงครามโลกครั้งที่
2 ลง
ไอน์สไตน์เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 หลังจากที่ไอน์สไตน์เสียชีวิตไปแล้วมีการสร้างอนุสาวรีย์รูปไอน์สไตน์ครึ่งตัวขึ้นภายในสถาบันฟิสิกส์
แห่งกรุงเบอร์ลิน เรียกว่า หอคอยไอน์สไตน์ เพื่อระลึกถึงความสามารถของเขา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น