วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

10.อริสโตเติล (Aristotle)

ยอดนักคิดจากโลกโบราณ
ผู้นำสมองของโลกยุคก่อนคริสต์ศักราชส่งความคิดเนิ่นนานถึงพันปี
อริสโตเติล คือ ผู้คิดค้นทฤษีมากมาย และมีหลายทฤษีที่เปล่ยนมุมมองของความเชื่อดังเดิมจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว อาทิเช่น การเสนอทฤษีว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล (Geocentrism) กล่าวคือ โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ มีดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์โคจรอยู่รอบโลก เป็นต้น
นอกจากนี้ อริสโตเติลยังมีบทบาทที่โดดเด่น คือ การเป็น บิดาแห่งสัตววิทยา
อริสโตเติลเกิดที่สตายิรา (Stagira) ในแคว้นมาซิโดเนีย (Macedonia) ประเทศกรีซเมื่อ 384 ปี ก่อนคริสตกาล บิดาเป็นแพทย์ประจำราชสำนักพระเจ้าอามินทาสที่ 2 (King Amintas II) เนื่องจากเป็นบิดาเป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ทำให้อริสโตเติลในวัยเยาว์ได้ร่ำเรียนสรีรศาสตร์และสัตวศาสตร์จากบิดา เมื่ออายุ 18 ปี เขาไปศึกษาอยู่กับเพลโต (Plato)ที่กรุงเอเธนส์ (Athens) กระทั่งอายุ 38 ปี อาจารย์ได้ถึงแก่กรรมอริสโตเติลคิดว่า จะได้รับตำแหน่งหน้าที่การสอนแทน แต่ตรงกันข้าม กลับเป็นเซโนกราติส (Zenocrates) ที่ได้รับต่อมาเป็นเวลา 25 ปี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อริสโตเติลน้อยใจกลับไปยังแคว้นมาซิโดเนียบ้านเกิดแล้วตั้งตนเป็นอาจารย์สอนหนังสือเพื่อเผยแพร่ทฤษฎีของตน
จนกระทั่งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) พระโอรสของพระเข้าฟิลิปส์ที่ 2 (King Philip II)เสด็จขึ้นครองราชย์ในมาซิโดเนีย อริสโตเติลก็กลับมายังกรุงเอเธนส์อีกครั้ง และยกบ้านของตนให้เป็นโรงเรียนเรียกว่า ไลเซียม (Lyceum) อริสโตเติลจัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาปรัชญาซึ่งมีการแลกเปลี่ยนทรรศนะระหว่างลูกศิษยืกับอาจารย์ขึ้น
ความสามารถอันเอกอุของอริสโตเติลนั้นเห็นจะเป็นตำราที่บันทึกเรื่องราวจากการศึกษาและสังเกตความเป็นไปของสัตว์ต่างๆที่เกาะแห่งหนึ่งเป็นเวลามากกว่าสองปี และรวบรวมเป็นหนังสือได้กว่า 20 เล่ม เป็นบันทึกรายละเอียดชีวิตสัตว์กว่า 540 ชนิดทำให้เขาได้รับฉายา บิดาแห่งสัตววิทยาหนังสือของเขาที่แปลเป็นภาษาละตินมีสี่เรื่อง กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตทั่วไป (De anima) ประวัติความเป็นมาของสัตว์ (De Historia animalium) วงจรชีวิตสัตว์ (De generation snimslium) และอวัยวัต่างๆของสัตว์ (De Partibus animalium)
อริสโตเติลเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสรรพสัตว์ออกป็นหมวดหมู่ และแบ่งสัตว์ออกเป็นสองพวก คือ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง (Vertebrates) ซึ่งมีเลือดสีแดง เช่น คนวาฬ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน กับสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (Lnvertebrates) มีทั้งพวกที่มีเลือดที่มีสีแดงและไม่มีสีแดง
นอกจากนี้ อริสโตเติลยังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ชั้นเยี่ยมในสาขาวิชาที่กล่าวถึงความรู้ของความจริงที่สุดแห่งสรรพสิ่งซึ่งมีอยู่ทั่วจักรวาล มี  5 วิชา ได้แก่ ศาสนา รัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วรรณกรรม และศิลปกรรม ไม่ว่าจะจับวิชาไหน อริสโตเติลต้องเป็นเจ้าของไปทั้งหมด ทั้ฝเป็นผู้วางกฏต่างๆมากมาย คนที่ได้รับการศึกษาจากบุคคลผู้นี้จะเปี่ยมด้วยศรัทธา และผู้คนจะฟังคำพูดของเขาราวกับเขาเป็นพระเจ้าตรัส
ในด้านดาราศาสตร์ อริสโตเติลได้แนวความคิดจากเพลโต ผู้เป็นอาจารย์ ส่วนเพลโตเองเป็นศิษย์ของโสเครติส (Socrates) ซึงทั้งสามท่านถือว่า เป็นเจ้าปรัชญาในกรีก อริสโตเติลเขียนตำราไว้มากมาย เขาพยายามสร้างตำราที่รวบรวมสรรพวิทยาการซึ่งเรียกกันในปัจจุบันว่า สารานุกรมนั่นเอง ตำราเล่มสำคัญคือ ตรรกวิทยา จรรยาการเมือง ธรรมชาติวิทยา และเรื่องวิญญาณ อริสโตเติลยืนยันว่า ธาตุต้องมีอยู่เสมอ และความคิดที่จะละเลยหรือละทิ้งการมีอยู่จริงของธาตุเป็นความคิดที่ผิด
อริสโตเติลยอมรับว่ามีธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ ก่อนจะเสนอธาตุอีเธอร์ เป็นส่วนประกอบของท้องฟ้า ที่เขากล่าวเช่นนี้ก็เพราะเชื่อคำพูดของปิทาโกรัส (Pythagoras) ที่ว่าสิ่งที่อยู่บนพื้นดินเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ท้องฟ้าและจักรวาลไม่เปลี่ยนแปลง ธาตุทั้งห้าพยายามจะกลับไปอยู่ที่เดิมของมัน เช่น ไฟก็ต้องอยู่บนท้องฟ้า มันจึงพยายามลุกลามสูงขึ้นเสมอส่วนธาตุดินอยู่ด้านล่าง จึงเอาแต่หล่นสู่พื้นดินอยู่ร่ำไป ยิ่งใหญ่หรือยิ่งหนักมากเท่าใดก็ยิ่งตกเร็วเท่านั้น
อริสโตเติลได้คิดทฤษฎีว่า ถ้าลูกกลมสองลูกประกอบกันขึ้นด้วยวัตถุชาติอย่างเดียวกัน แม้ลูกหนึ่งใหญ่และอีกลูกหนึ่งเล็ก ถ้าหากทิ้งลงสู่พื้นดินพร้อมกัน ลูกใหญ่จะถึงก่อนเสมอ และถ้าใหญ่ถึงสิบเท่าก็จะลงพื้นไว้สิบเท่าเช่นกัน
ต่อมากาลิเลโอนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได้หักล้างทฤษีของอริสโตเติล และพิสูจน์ว่า ไม่เป็นความจริง เพราะลูกใหญ่กับลูกเล็กถึงพร้อมกันเสมอ นี่ไม่ใช่ทฤษีเดียวเท่านั้นยังมีอีกหลายทฤษฎีเช่นกัน
กระนั้นก็ดี ใครที่มีแนวคิดหักล้างความคิดของอริสโตเติลนั้น ผลที่ได้ คือการถูกทำร้ายทั้งที่กาลเวลาผ่านไปนานหลายศตวรรษ เช่น ฮรูโน(Bruno)ซึ่งอ้างว่ากฏของอริสโตเติลผิด เป็นเหตุให้ตัวเขาถูกประหารชีวิต กาลิเลโอก็เช่นกันที่เกือบจะโดนเผาทั้งเป็น
อย่างไรก็ตามความเลื่อมใสของอริสโตเติลนั้นค่อยๆหมดไปตามกาลเวลา พร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชบวกกับการที่อริสโตเติลบวกความอิจฉาริษยาและถูกใส่ร้ายป้ายสีไม่ไหว ทำให้เขาถูกเนรเทศตัวเองไปอยู่ในเขตเมืองกาลาส (Chalas) และถึงแก่กรรมเมื่อ 322 ปีก่อนคริสต์ศักราชรวมอายุได้ 62 ปี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น