ผลงาน : -
เป็นผู้ค้นพบแร่เรเดียมร่วมกับสามี คือ ปีแอร์ คูรี่
- ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1911
มารี คูรี่ “ ผู้ค้นพบแร่เรเดียม” นักวิยาศาสตร์ที่รักการค้นคว้ายิ่งกว่าชีวิตของตัวเองและเสียชีวิตด้วยรังสีของแร่เรเดียมซึ่งเธอได้คลุกคลีกับมันมาเป็นเวลานาน แร่เรเดียมที่นับได้ว่าช่วยให้คนรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมาก กลับทำงานชีวิตของเธอเองอย่างน่าเสียดาย
มารี คูรี่
เกิดในประเทศโปแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1867 เป็นบุตรีของศาสตราจารย์
วลาดิสลาฟสโคลโดว์สกา ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์และคำนวณ ซึ่งเธอได้รับการถ่ายทอดวิชาวิทยาศาสตร์จากบิดามาตั้งแต่เด็ก มารีสนใจในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพมาก จึงได้เดินทางไปไปศึกษาในมหาวิทยาลัยซอร์บอน ในกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส
เมื่ออายุได้ 27 ปี เธอได้รู้จักกับปีแอร์ คูรี่ นักฟิสิกส์และเคมีชาวฝรั่งเศส และได้แต่งงานกันเมื่อปี
ค.ศ. 1895 ซึ่งปีแอร์มีส่วนช่วนในการค้นพบครั้งสำคัญนี้อย่างมาก
มารี คูรี่ กับสามีได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างไม่หยุดยั้ง เธอแยกธาตุออกจากแร่พิทช์เบลนน์ได้เป็นส่วนย่อย จนกระทั่งพบธาตุใหม่อีกธาตุหนึ่ง ในขั้นแรกเธอให้ชื่อว่า โปโลเนียม(Polonium) ซึ่งมีคุณสมบัติทางกัมมันตภาพรังสีอยู่มาก จนต่อมา เธอตัดสินใจเรียกธาติใหม่นี้ว่าเรเดียม (Radium) ซึ่งมีคุณสมบัติสูงกว่ายูเรเนียม ถึง 2 ล้าน 5 แสนเท่า เรเดียมสามารถแยกก๊าซหรืออากาศได้ และยังทำให้เกิดแสงเรือง มีพลังความร้อน ซ้ำยังเป็นโลหะที่มีอานุภาพทำลายชีวิตมนุษย์ได้อีกด้วย
ปีแอร์ และมารี คูรี่ ได้รับการยกย่องในผลสำเร็จครั้งนี้อย่างมาก แม้ในต่างประเทศ เช่นสมาคมวิทยาศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ของอังกฤษ ได้มองเหรียญเดวี่ให้เป็นเกียรติแก่บุคคลทั้งคู่ มารี คูรี่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี ค.ศ.1911
ในขณะที่บุคคลทั้งสองกำลังรุ่งโรจน์อยู่นั้น เหตุการณ์ก็เกิดขึ้นในตอนเช้าของวันที่
19เมษายน ค.ศ. 1906 ปีแอร์ คูรี่ สามีของเธอก็ประสบอุบัติเหตุ และถึงแก่ความตายทันที ยังความเศร้าสลดใจมาให้แก่มารี คูรี่อย่างสุดซึ้ง และเกือบจะทำให้เธอทอดทิ้งผลงานต่าง
ๆที่ทำค้างไว้ทั้งสิ้น แต่ในไม่ช้าเธอก็หวนกลับมาสู่การค้นคว้าผลงาน ของเธอต่อไป
ในปี ค.ศ.1934 มารี คูรี่ ก็ล้มเจ็บลง ด้วยลักษณะอาการของคนที่มีอาการอ่อนเพลีย หมดแรงลงอย่างรวดเร็วและถึงแก่กรรม เมื่อเช้าวันที่ 4
กรกฎาคม ค.ศ. 1934 แพทย์ตรวจพบภายหลังว่ากระดูกไขสันหลังของเธอถูกทำลายด้วยรังสีของแร่เรเดียม ซึ่งเธอได้คลุกคลีกับมันมาเป็นเวลานาน แร่เรเดียม ที่นับว่าได้ช่วยให้คนรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมากนั้น กลับทำลายชีวิตของเธอเองอย่างน่าเสียดาย
ดีมากเลยครับผมมีงานส่งครู
ตอบลบผม ม.1กำลังหาข้อมูล เจอพอดีเลย ไม่มีโฆษณาด้วย ดีๆๆๆ