วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน้าปก

ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ 10 คน







เสนอ

อาจารย์ศุภสัณห์   แก้วสำราญ

จัดทำโดย

นางสาว วิริญญา   ชูช่วย    เลขที่ 26

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557


คำนำ

      รายงานเล่มนี้    รายวิชา การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  กลุ่มสาระการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  เป็นเนื้อเกี่ยวกับทางวิชาการในเรื่องประวัติของนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญถึง 10 คนด้วยกัน รายงานเล่มนี้เน้นการสร้างความรู้และคำอธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและความสำคัญของนักวิทยาศาสตร์แต่ละบุคคล รายงาน  เล่มนี้จัดทำเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการสอนภายในโรงเรียนตามความเหมาะสม
       หวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการหาความรู้ไดอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักการ
และจุดมุ่งหมาย   ขอขอบคุณเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลในการทำรายงานเล่มนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีไว้ ณ โอกาสนี้

(นางสาววิริญญา  ชูช่วย)


บทนำ



มาทำความรู้จัก นักวิทยาศาสตร์ของโลก และ ประวัตินักวิทยาศาสตร์โลก กันเลย โดยเรามี ชื่อนักวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญจำนวน 10 คนมาแนะนำให้รู้จัก
 
          นักวิทยาศาสตร์ในโลกนี้มีมากมาย แต่มีไม่กี่คนนักหรอกที่ประสบความสำเร็จจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก และสร้างความเปลี่ยนแปลงจนคนรุ่นหลังต้องขอบคุณสิ่งประดิษฐ์ที่พวกเขาคิดค้นขึ้น ซึ่งกว่าที่พวกเขาจะมีชื่อเสียงเป็นที่นับถือจากผลงาน หลาย ๆ คนก็อาจต้องเสียสละหรือผ่านความยากลำบากมาก่อนโดยที่เราไม่คาดคิด ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมก็ได้รวบรวมเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ 10 คนมาฝากกัน ...ตามมาอ่านเรื่องราวของพวกเขากันเลย

1. เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton)




ประวัติ : นักคณิตศาสตร์  นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญา  เกิด  ค.ศ. 1642 ที่ลินคอล์นเคาน์ตี้ ประเทศอังกฤษ  
ตาย ค.ศ. 1727  อายุ  85  ปี


ผลงานที่สำคัญ : คิดทฤษฎีไบโนเมียลได้  คิดฟลักเซียลได้สำเร็จ  ซึ่งต่อมาเรียกใหม่ว่า กฎเกณฑ์ในวิชาอินทีกราลแคลคูลัส  
สร้างกล้องโทรทัศน์แบบสะท้อนแสง  พบแรงโน้มถ่วงของโลก และความโน้มถ่วงของจักรวาล และตั้งกฎของความโน้มถ่วง (Law  of  Gravitation)
พบว่า ปริซึมสามารถแยกแสงจากดวงอาทิตย์ได้เป็น  7  สี  คือ แดง  ส้ม  เหลือง  เขียว  น้ำเงิน  คราม  และม่วง  พบกฎการเคลื่อนที่

นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ นิวตันเกิดที่เมืองวูลสธอร์ป ลิงคอนไชร์ ประเทศอังกฤษ

ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก ไลบ์นิซ และแฟลมสตีด ซึ่งนิวตันได้แก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจิตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของ นิวตัน เอง นิวตัน ตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของ นิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตัน ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสภา 



2. หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)



เกิด        วันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล (Dole) มลรัฐจูรา (Jura) ประเทศฝรั่งเศส (France)
เสียชีวิต วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895 ประเทศฝรั่งเศส (France)
ผลงาน   - ค้นพบวัคซีนป้องกันพิษสุนัขป่า
             - ค้นพบว่า จุลินทรีย์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย
             - ค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการนำมาต้มหรือเรียกว่า พาลเจอร์ไรเซชัน(Pasteurization)

          ปาสเตอร์เป็นนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขา และคุณประโยชน์อย่างมากให้กับศาธารณชน
คือ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เป็นโรคระบาดที่รุนแรง แต่ก็สามารถคร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมากเช่นกัน
นอกจากนี้เขายังค้นพบวัคซีนอีกหลายชนิด ได้แก่ อหิวาตกโรค วัณโรค และโรคคอตีบ ผลงานของเขาที่สร้างคุณประโยชน์อย่าง
มากอีกชิ้นหนึ่ง คือ การค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แบบพาสเจอร์ไรต์ ในปัจจุบันวิธีการนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะสามารถเก็บ
รักษาอาหารได้นานและปลอดภัยมากที่สุด

          ปาสเตอร์เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล มลรัฐจูรา ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นช่างฟอกหนังชื่อว่า
จีน โจเซฟ ปาสเตอร์ (Jean Joseph Pasteur) และเคยเป็นทหารในกองทัพของพระเจ้านโปเลียนมหาราช และได้รับเหรียญ
กล้าหาญจากสงครามด้วย ต่อมาครอบครัวของปาสเตอร์ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอาร์บัวส์ (Arbors) แม้ว่าฐานะครอบครัวของเขาจะมี
ฐานะไม่ดีนัก แต่บิดาก็ต้องการให้หลุยส์มีความรู้ที่ดี การศึกษาขั้นแรกของปาสเตอร์เริ่มต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดอาร์บัวส์
ซึ่งวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่เขาเรียนได้ดีที่สุด นอกจากนี้เขามีความสามารถในการวาดรูปอีกด้วย โดยเฉพาะภาพเหมือน
(Portrait) เขามีความชำนาญมากที่สุดรูปเหมือนที่ปาสเตอร์ได้วาด เช่น ภาพบิดา มารดา และเพื่อน ๆ ของเขา เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน
ภาพเหล่านี้ได้ถูกแขวนประดับไว้ในสถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (The Pasteur Institute in Paris)
ด้วยความที่ปาสเตอร์เป็นนักเรียนที่เรียนดี มีความสามารถ และความประพฤติเรียบร้อย จึงได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ใหญ่
ของวิทยาลัยอาร์บัวส์ให้ไปเรียนที่อีโคล นอร์เมลซูพีเรีย (Ecole Normale Superiere) ซึ่งเป็นสถาบันฝึกหัดครูชั้นสูงที่มี
ชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงปารีสด้วยอาจารย์ใหญ่ต้องการให้เขากลับมาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยอาร์บัวส์นั่นเอง แต่ปาสเตอร์เรียนอยู่ที่นี่
ได้ไม่นาน บิดาก็ต้องมารับกลับบ้าน ด้วยเขาป่วยเป็นโรคคิดถึงบ้าน (Home Sick) อย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะถึงขั้นเป็นโรคประสาท
ได้ในเวลาต่อมา

         ต่อมาเขาได้เข้าเรียนต่อวิชาอักษรศาสตร์ ที่รอยับลคอลเลจ (Royal College) ในเบซานกอน (Besancon) หลังจาก
จบการศึกษาแล้ว ปาสเตอร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ต่อจากนรั้นปาสเตอร์ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบันฝึกหัดครูชั้นสูง
Ecole Normale Superiere อย่างที่เขาตั้งใจในครั้งแรก ในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่นี่เขามีโอกาสได้เรียนวิชาเคมีกับนักเคมี
ผู้มีชื่อเสียง 2 ท่าน คือ เจ.บี. ดีมาส์ (J.B. Dumas) และ เอ.เจ. บาลาร์ด ซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne
University) เนื่องจากมีบางวิชาที่ต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ในช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาที่ อีโคล นอร์เมล ซูพเรีย
เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลึก (Crystallography) ในปี ค.ศ. 1852 เมื่อปาสเตอร์จบการศึกษาแล้ว เขาได้ทำการทดลอง
เกี่ยวกับกรดทาร์ทาริก หรือกรดปูนที่ใช้ทำน้ำส้ม (Tartaric acid) จากผลงานการทดลองชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1849 เขาได้รับเชิญ
จากมหาวิทยาลัยสตราส์เบิร์ก (Strasburg University) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาเคมี

         ต่อจากนั้นในปี ค.ศ. 1854 ปาสเตอร์ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองลิลล์ (University of Lille) ให้ดำรงตำแหน่ง
ศาสตราจารย์วิชาเคมีและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยความที่เมืองลิลล์เป็นเมืองอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีทั้งเหล้า
เบียร์ และไวน์ และครั้งหนึ่งปาสเตอร์ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานทำแอลกอฮอล์จากน้ำตาลหัวผักกาดแห่งหนึ่ง ทำให้เขารู้ปัญหา
ของโรงงานที่ว่าเกิดการเน่าเสียของแอลกอฮอล์ และยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ ดังนั้นปาสเตอร์จึงนำตัวอย่างแอลกอฮอล์ไปตรวจสอบ
ในขณะนั้นมีนักวิทยาศาสต์ท่านหนึ่งสามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ เขาจึงนำกล้องจุลทรรศน์มาใช้ในการตรวจสอบ
ครั้งนี้ด้วย โดยในส่วนแรกเป็นแอลกอฮอล์ที่ดีเมื่องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูปรากฏว่า มีแบคทีเรียชนิดหนึ่งลำตัวกลมมีชื่อว่า ยีสต์
(Yeast) ซึ่งมีฤทธิ์เปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นแอลกอฮอล์และได้พบแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเป็นท่อน ๆ แบคทีเรียชนิดนี้มี
ชื่อว่า บาซิลลัส (Bacillus) ซึ่งมีฤทธิ์สามารถเปลี่ยนน้ำตาลแดงให้เป็นกรดแลคติกได้ หรือเป็นตัวการที่ทำให้แอลกอฮอล์มีคุณภาพ
ต่ำ จากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ปาสเตอร์เริ่มทำการทดลองเกี่ยวกับของหมักดอง ในที่สุดปาสเตอร์ได้พบว่า การหมักดองทำให้เกิด
กรดขึ้น 2 ชนิด ได้แก่ กรดซักซินิก (Succinic acid) และกลีเซอร์ไรน์ (Glycerin) การค้บพบครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากใน
วงการอุตสาหกรรมและเป็นการบุกเบิกการค้นคว้าหาสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากขึ้น ปาสเตอร์ได้ตั้งทฤษฎีการหมักดอง
(Fermentation Theory) กล่าวว่า การหมักดองเป็นผลมาจากจุลินทรีย์

         เมื่อเขาค้นพบว่าจุลินทรีย์ทำให้เกิดผลเสียมากมาย ปาสเตอร์จึงทำการค้นคว้าเกี่ยวกับจุลินทรีย์ต่อไป และพบว่า จุลินทรีย์
ที่มีอยู่ทั่วไปในอากาศทำให้เกิดความเจ็บป่วย และอาหารรวมถึงนมเน่าเสียได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้นวิธีการเก็บรักษาของให้อยู่ได้
นาน ๆ ก็คือ ต้องฆ่าจุลินทรีย์เหล่านี้ให้หมดไป ปาสเตอร์ได้ทดลองฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ โดยการนำนมมาต้มในความร้อน 145 องศา
ฟาเรนไฮต์ ทำให้เย็นลงโดยเร็วที่สุด ภายใน ? ชั่วโมง เพื่อให้จุลินทรีย์ตายหมด ก่อนนำไปบรรจุใส่ขวด จากนั้นใช้สำลีอุดปากขวด
ให้แน่นป้องกันไม่ใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าได้ ผลปรากฎว่านมสดอยู่ได้นานกว่าปกติ โดยที่ไม่เน่าเสีย จากนั้นปาสเตอร์ได้นำวิธีการดังกล่าว
ไปใช้กับเครื่องดื่มชนิดอื่น เช่น เหล้า เบียร์ น้ำกลั่น และไวน์ เป็นต้น วิธีการนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ พาสเจอร์ไรเซชัน
(Pasteurization) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากการค้นคว้าทดลองครั้งนี้ปาสเตอร์
ยังพบวิธีการทำน้ำส้มสายชูโดยใช้จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดเหล้าองุ่นมาเพาะ แล้วเติมลงไปในเหล่าองุ่นที่ผ่านวิธีพาสเจอร์ไรต์แล้ว
ด้วยวิธีการนี้จะได้น้ำส้มสายชูที่มีคุณภาพดี

         การค้นคว้าเรื่องจุลินทรีย์ของปาสเตอร์ไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ ในปี ค.ศ. 1865 เขาพบถึงสาเหตุของเซลล์ที่ตายแล้วเน่าเปื่อย
ก็เป็นผลมาจากเชื้อจุลินทรีย์เช่นเดียวกัน ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองต่อไป ด้วยปาสเตอร์กลัวว่าเมื่อฝังศพทั่งของสัตว์ และมนุษย์ลง
ในดินแล้ว ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นลงไปอยู่ในดินได้และอาจจะปนเปื้อนไปกับน้ำบาดาล เมื่อคนนำน้ำบาดาลไปดื่มโดยที่ไม่ต้องต้ม
ฆ่าเชื่อก่อน อาจจะทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ เมื่อการค้นคว้าของปาสเตอร์จบสิ้นลงผลปรากฏว่าเป็นดังเช่นที่ปาสเตอร์กล่าวไว ้คือ
มีจุลินทรีย์บางชนิดสามารถอยู่ในดินได้จริง เช่น เชื้อบาดทะยัก และแอนแทรกซ์ เป็นต้น

         ต่อมาเขาได้ทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดที่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตัวไหม ซึ่งทำความเสียหายอย่างหนักให้กับโรงงานอุตสาหกรรม
ผ้าไหม เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมได้มาขอความช่วยเหลือจากปาสเตอร์ เขาได้ทำการค้นคว้าเรื่องนี้อยู่นางถึง 5 ปี จึงพบว่าโรคนี้เกิดขึ้น
จากเชื้อจุลินทรีย์ชื่อว่า โนสิมา บอมบายซิล (Nosema Bombysis) ซึ่งตัวหนอนกินเข้าไป ดังนั้นปาสเตอร์จึงอธิบายวิธีการป้องกัน
โรคนี้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมฟังอย่างละเอียด ซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้เป็นอย่างดี จากผลงานทาวิทยาศาสตร์วิชาเคมี
ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) และในปีเดียวกันนี้เขาได้เผยแพร่ผลงานการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการ หมักดองออกมาอีกเล่มหนึ่งจากความสามารถของปาสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เขาได้เชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคม
อะเคดามี ออฟ เมดิซีน (Academy of Medicine)

         ในปี ค.ศ. 1887 ปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์ โดยเริ่มจากโรคที่ร้ายแรงที่สุด คือ โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ปาสเตอร์ใช้ปัสสาวะของสัตว์ที่ป่ายเป็นโรคแอนแทรกซ์มาเพาะเชื้อให้อ่อนกำลังลง แล้วไปทำวัคซีน การที่เขานำ
ปัสสาวะของสัตว์มาทำวัคซีนทำให้คนทั่วไปไม่เชื่อถือในวัคซีนของเขา ปาสเตอร์ต้องการให้สาธารณชนประจักษ์แก่สายตาจึงทำ
การทดลอง ปาสเตอร์ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมเกษตร (Agriculture Society) มอบแกะในการทดสอบวัคซีนถึง 50 ตัว
ปาสเตอร์แบ่งแกะออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 ตัว กลุ่มหนึ่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ฉีด จากนั้นจึงฉีด
เชื้อโรคแอนแทรกซ์ให้กับแกะทั้งหมด ผลปรากฏว่าแกะกลุ่มที่ฉีดวัคซีนไม่ป่วยเป็นโรคแอนแทรกซ์เลย แต่แก่กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน
ป่วยและเสียชีวิตหมดทุกตัว

          จากผลงานการค้นคว้าชิ้นนี้ ทางรัฐบาลประเทศฝรั่งเศสได้ขอร้องและมอบเงินสนับสนุนให้กับปาสเตอร์ในการค้นคว้าหา
วัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ ปาสเตอร์ทำการทดลองค้นคว้าและสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ได้สำเร็จ
โดยเขาผลิตวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนฉีดให้กับไก่
ปรากฏว่าไก่ที่ป่วยมีอาการดีขึ้นและหายไปในที่สุด

          การค้นพบวัคซีนที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุด คือ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าน แม้ว่าจะไม่ใช่โรคระบาดที่ร้ายแรงแต่ก็
สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนได้มากเพราะเมื่อผู้ใดที่ถูกสุนัขบ้ากัดแล้วต้องเสียชีวิตทุกรายไป สัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ก็ต้องตายโดย
ไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกัน จากการค้นคว้าปาสเตอร์พบว่าเชื้อสุนัขบ้าอยู่ในน้ำลาย ดังนั้นเมื่อถูกน้ำลายของสุนัขที่มีเชื้อโรคอยู่ไม่ว่าจะ
ทางใด เช่น ถูกเลียบริเวณที่เป็นแผล หรือถูกกัด เป็นต้น เชื้อโรคในน้ำลายก็จะซึมเาไปทางแผลสู่ร่างกายได้ ปาสเตอร์ได้นำเชื้อ
มาเพาะวัคซีน และนำไปทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี แต่ปาสเตอร์ไม่กล้านำมาทดลองกับคน จนกระทั่งวันหนึ่งโจเวฟ
เมสเตร์ เด็กชายวัย 9 ปี ถูกสุนัขบ้ากัด ถึงอย่างไรก็ต้องเสียชีวิต ดังนั้นพ่อแม่ของเด็กจึงได้นำบุตรชายมาให้ปาสเตอร์รักษาซึ่งเป็น
โอกาสดีที่ปาสเตอร์จะได้ทดลองยา ปรากฏว่าเด็กน้อยไม่ป่วยเป็นโรคสุนัขบ้าน การค้นพบครั้งนี้ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น

         ในปี ค.ศ. 1888 ปาสเตอร์ได้ก่อตั้งสถาบันปาสเตอร์ (Pasteur Institute) ขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นสถาบัน
ปาสเตอร์ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่ง ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยในประเทศไทยใช้ชื่อว่า สถานเสาวภา
สถาบันปาสเตอร์ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดต่อชนิดต่าง ๆ เช่นโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
ปาสเตอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895



3. กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)



นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาเมธี ชาวอิตาเลี่ยน
เกิด 15 กุมภาพันธ์ คศ.1564 ที่ เมืองปิซ่า อิตาลี
เสียชีวิต 8 มกราคม คศ.1642
        กาลิเลโอ เป็นคนที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์มาก แต่บิดาของเขาอยากให้เรียนวิชาการแพทย์ เพราะสามารถหาเงินง่ายและเป็นที่นับถือแต่เขาไม่ชอบเอาเสียเลย นอกจากนี้เขายังสนใจด้านศิลปะภาพเขียน เขายังมีความสามารถด้านดนตรี บิดาของกาลิเลโอเป็นนักคณิตศาสตร์และดนตรีและนักเขียนพอมีชื่อเสียงแต่ฐานะไม่รำรวย แต่เขาไม่อยากให้บุตรชายเป็นเหมือนเขา จึงได้ส่งเขาไปร่ำเรียนในมหาวิทยาลัยเมืองปิซาด้านการแพทย์ จนอายุได้ 19 ปี มีศาสตราจารย์คนหนึ่งมาสอนเรื่อง คณิตศาสตร์ เขาได้แอบเข้าไปเรียนด้วย จนกระทั่งกล้าซักถามปัญหาและต่อมาหลังจากได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ เมืองปิซ่า กาลิเลโอ เคยไปสวดมนต์ที่โบสถ์เขาสังเกตเห็นโคมไฟในโบสถ์ถูกลมพัดแกว่งไป-มา เมื่อลมหยุดตะเกียงแกร่งสั้นเข้าๆ จนในที่สุดมันก็หยุด เขาได้ความรู้ว่าแม้ช่วงที่แกร่งสั้นเข้า แต่ความเร็วก็ไม่ได้ลดลงเลย ความคิดนี้เขาได้นำมาประดิษฐ์นาฬิกาลูกตุ้มให้แก่พ่อของเขาเรือนหนึ่ง อีกครั้งหนึ่งเขานับจังหวะการแกว่งของโคมไฟกับการเต้นของหัวใจ จนประดิษฐ์เครื่องมือวัดการเต้นของหัวใจได้ว่าเต้นนาทีละกี่ครั้ง เขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ของแม้จะมีน้ำหนักต่างกันแต่ตกถึงพื้นพร้อมกัน โดยขึ้นไปบนหอเอียงปิซ่า เอาของที่มีน้ำหนักต่างกันทิ้งลงมา ปรากฎว่าถึงพื้นดินพร้อมกันซึ่งหลักอันนี้แม้จะขัดกับคำพูดของอริสโตเติลแต่ก็เป็นความจริง นอกจากนี้เขายังค้นพบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีด้วยกล้องโทรทัศน์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นมา และเขาก็ได้พิสูจน์ได้ว่า โลกไม่ได้อยู่นิ่งๆหรือเป็นศูนย์กลางของดวงดาวทั้งหลายแต่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้คณะบาทหลวงและกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับเขาและโป้ปฟ้องหาว่าเขาเป็นคนนอกศาสนา (เพราะไปขัดแย้งกับแนวคิดทางศาสนา กับ อริสโตเติ้ล)ห้ามไม่ให้เขาเผยแพร่ความคิดนี้ และประกาศให้คนทั่วไปทราบว่าความคิดของเขาผิด เขาได้เป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ ที่อายุน้อย คือ 24 ปี ทั้งที่ไม่มีใบปริญญาที่เมืองปิซา แต่อยู่ได้ไม่นานต้องลาออกไปเพราะไปขัดแย้งของของตกจากที้สูงที่ขัดแย้งกับ อริสโตเติล จนได้ไปสอนที่มหาวิทยาลับปาดัว (University of Padua) ที่ยาวนานถึง18 ปี ในบั้นปลายชีวิตของกาลิเลโอ นั้นน่าสงสารยิ่ง เพราะเขาป่วยจนตาบอดเพราะมาจากการใช้สายตาส่องดูกล้องมากเกินไป จนตายไป แม้ตอนตายหลุมศพเขายังห้ามมิให้มีแผ่นศิลาจารึกให้เขาอีกด้วย ศพของเขาได้ถูกนำไปฝัง ณ Church of Santa Croce หลังจากนั้นอีก 50 ปี ก็ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ไว้เป็นเกียรติกับความสำเร็จของเขาในกาลต่อมาก็เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก


ผลงานค้นพบที่สำคัญของ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)


·  ได้ตั้งกฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือกฎการแกว่งของนาฬิกาลูกตุ้ม
·  การค้นพบเรื่องของหนักกับของเบาจะตกลงถึงพื้นพร้อมๆกัน
·  ผู้ค้นพบหลักวิชาพลศาสตร์ (Dynamic) การเคลื่อนไหวของระยะการยิงปืนใหญ่วิถีกระสุนจะเป็นวิถีโค้ง
·  สร้างกล้องโทรทัศน์ดูดาวบนท้องฟ้า ผิวของดวงจันทร์ การค้นพบความแตกต่างของดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์ว่าดาวเคราะห์มีลักษณะเหมือนดวงจันทร์ ส่วนดาวฤกษ์นั้นมีแสงสว่างพุ่งออกมา และยังค้นพบจุดดำบนดวงอาทิตย์
·  พบทางช้างเผือก (Milky Way)

ผลงานด้านงานเขียน ของ กาลิเลโอ


·  Hydrostatic Balance บทความที่ว่าด้วยเรื่องตาชั่ง
·  Center of Gravity of Solid, หนังสือว่าด้วยจุดศูนย์ถ่วงของของแข็ง
·  Letter on the Solar Spots,หนังสือว่าด้วยจุดดำในดวงอาทิตย์และระบบสุริยะว่าโลกและดาวเคราะห์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางระบบสุริยะ
·  Dialogo Die Due Massimi Sistemi Del Mondo หนังสือต้องห้ามที่ห้ามจำหน่ายใน อิตาลีเพราะผิดกับระบบศาสนาคริสต์ในสมัยนั้น ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับดาวหางนั้นมาจากเกิดแสงของดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับรุ้งกินน้ำ
·  ค้นพบทางช้างเผือก (Milky Way)


4. มารี กูรี (Marie Curie)




ผลงาน : - เป็นผู้ค้นพบแร่เรเดียมร่วมกับสามี คือ ปีแอร์ คูรี่
- ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1911
มารี คูรี่  ผู้ค้นพบแร่เรเดียม นักวิยาศาสตร์ที่รักการค้นคว้ายิ่งกว่าชีวิตของตัวเองและเสียชีวิตด้วยรังสีของแร่เรเดียมซึ่งเธอได้คลุกคลีกับมันมาเป็นเวลานาน แร่เรเดียมที่นับได้ว่าช่วยให้คนรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมาก กลับทำงานชีวิตของเธอเองอย่างน่าเสียดาย
มารี คูรี่ เกิดในประเทศโปแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1867 เป็นบุตรีของศาสตราจารย์ วลาดิสลาฟสโคลโดว์สกา ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์และคำนวณ ซึ่งเธอได้รับการถ่ายทอดวิชาวิทยาศาสตร์จากบิดามาตั้งแต่เด็ก มารีสนใจในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพมาก จึงได้เดินทางไปไปศึกษาในมหาวิทยาลัยซอร์บอน ในกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส
เมื่ออายุได้ 27 ปี เธอได้รู้จักกับปีแอร์ คูรี่ นักฟิสิกส์และเคมีชาวฝรั่งเศส และได้แต่งงานกันเมื่อปี ค.ศ. 1895 ซึ่งปีแอร์มีส่วนช่วนในการค้นพบครั้งสำคัญนี้อย่างมาก
มารี คูรี่ กับสามีได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างไม่หยุดยั้ง เธอแยกธาตุออกจากแร่พิทช์เบลนน์ได้เป็นส่วนย่อย จนกระทั่งพบธาตุใหม่อีกธาตุหนึ่ง ในขั้นแรกเธอให้ชื่อว่า โปโลเนียม(Polonium) ซึ่งมีคุณสมบัติทางกัมมันตภาพรังสีอยู่มาก จนต่อมา เธอตัดสินใจเรียกธาติใหม่นี้ว่าเรเดียม (Radium) ซึ่งมีคุณสมบัติสูงกว่ายูเรเนียม ถึง 2 ล้าน 5 แสนเท่า เรเดียมสามารถแยกก๊าซหรืออากาศได้ และยังทำให้เกิดแสงเรือง มีพลังความร้อน ซ้ำยังเป็นโลหะที่มีอานุภาพทำลายชีวิตมนุษย์ได้อีกด้วย
ปีแอร์ และมารี คูรี่ ได้รับการยกย่องในผลสำเร็จครั้งนี้อย่างมาก แม้ในต่างประเทศ เช่นสมาคมวิทยาศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ของอังกฤษ ได้มองเหรียญเดวี่ให้เป็นเกียรติแก่บุคคลทั้งคู่ มารี คูรี่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี ค.ศ.1911
ในขณะที่บุคคลทั้งสองกำลังรุ่งโรจน์อยู่นั้น เหตุการณ์ก็เกิดขึ้นในตอนเช้าของวันที่ 19เมษายน ค.ศ. 1906 ปีแอร์ คูรี่ สามีของเธอก็ประสบอุบัติเหตุ และถึงแก่ความตายทันที ยังความเศร้าสลดใจมาให้แก่มารี คูรี่อย่างสุดซึ้ง และเกือบจะทำให้เธอทอดทิ้งผลงานต่าง ๆที่ทำค้างไว้ทั้งสิ้น แต่ในไม่ช้าเธอก็หวนกลับมาสู่การค้นคว้าผลงาน ของเธอต่อไป
ในปี ค.ศ.1934 มารี คูรี่ ก็ล้มเจ็บลง ด้วยลักษณะอาการของคนที่มีอาการอ่อนเพลีย หมดแรงลงอย่างรวดเร็วและถึงแก่กรรม เมื่อเช้าวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 แพทย์ตรวจพบภายหลังว่ากระดูกไขสันหลังของเธอถูกทำลายด้วยรังสีของแร่เรเดียม ซึ่งเธอได้คลุกคลีกับมันมาเป็นเวลานาน แร่เรเดียม ที่นับว่าได้ช่วยให้คนรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมากนั้น กลับทำลายชีวิตของเธอเองอย่างน่าเสียดาย


5. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)


เกิด        วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม (Ulm) ประเทศเยอรมนี (Germany)
เสียชีวิต วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 ที่เมืองนิวเจอร์ซี่ (New Jersey) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America) 
ผลงาน   - ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity)
             - ค้นพบทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)
             - ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1921


       ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ไอน์สไตน์ถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด อาจกล่าวได้ว่า เขาคือผู้ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระเบิดปรมาณูอันทรงอานุภาพ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ไอน์สไตน์ได้ส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt) เกี่ยวกับแร่ยูเรเนียมที่สามารถนำมาสร้างลูกระเบิดซึ่งมีพลังงานการทำลายล้างรุนแรง เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงคราม และนำสันติภาพ มาสู่โลกอีกครั้ง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกลงที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้คนเสียชีวิตทันทีกว่า 60,000 คน และเสียชีวิตภายหลังอีกกว่า 100,000 คน

       ไอน์สไตน์เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม ประเทศเยอรมนี ไอน์สไตน์เป็นชาวเยอรมันแต่ก็มีเชื้อสายยิว บิดาของไอน์สไตน์เป็นเจ้าของร้านจำหน่ายเครื่องยนต์และสารเคมี ชื่อว่า เฮอร์แมน ไอน์สไตน์ (Herman Einstein) ต่อมาเมื่อไอน์สไตน์อายุได้ 1 ขวบ บิดาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิวนิค ซึ่งส่วนใหญ่คนในเมืองจะเป็นชาวยิวเช่นเดียวกับเขา ทำให้เขาไม่มีปัญหากับเพื่อนบ้าน ไอน์สไตน์เป็นเด็กที่เงียบขรึม ไม่ค่อยชอบออกไปเล่นกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน จนบิดาเข้าใจว่าเขาเป็นคนโง่ จึงได้จ้างครูมาสอนพิเศษให้กับไอน์สไตน์ โดยเฉพาะเรื่องการพูด ถึงแม้ว่าการพูดของเขาจะดีขึ้น แต่เขาก็ยังเงียบขรึม และไม่ออกไปเล่นกับเพื่อนเหมือนเช่นเคย เมื่อไอน์สไตน์อายุได้ 5 ขวบ บิดาได้ส่งเข้าโรงเรียนที่ยิมเนเซียม (Gymnasium) นักเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ทั้งหมดเป็นชาวเยอรมัน และนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ถึงอย่างนั้นไอน์สไตน์ก็เข้ากับเพื่อนได้ดี แต่สิ่งที่เขาไม่ชอบมากที่สุดในโรงเรียน ก็คือการสอนที่น่าเบื่อและเกลี่ยดที่สุด ที่ใช้วิธีการท่องจำเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไอน์สไตน์ไม่อยากไปโรงเรียน มารดาจึงหาวิธีแก้ปัญหาโดยการให้เขาเรียนไวโอลินและเปียโนแทน แต่วิชาที่ ไอน์สไตน์ให้ความสนใจมากที่สุดคือ คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาเรขาคณิตเป็นวิชาที่เขาชอบมากที่สุด ทำให้เขาละทิ้งวิชาอื่น ยกเว้นคณิตศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดี เขาก็มักจะถูกครูตำหนิอยู่เสมอ
       ต่อมาเมื่อไอน์สไตน์อายุได้ 15 ปี กิจการโรงงานของพ่อเริ่มแย่ลง เนื่องจากการรวมตัวของบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและเคมีหลายแห่ง ทำให้โรงงานของพ่อเขาไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ ครอบครัวของเขาต้องย้ายไปอยู่ที่เมืองมิลาน (Milan) ประเทศอิตาลี (Italy) แต่ไอน์สไตน์ไม่ได้ย้ายตามไปด้วย เพราะยังติดเรียนอยู่ หลังจากนั้นอีก 6 เดือน เขาได้วางแผนให้แพทย์ออกใบรับรองว่าเขาป่วยเป็นโรคประสาท เพื่อให้เขาได้เดินทางไปหาพ่อกับแม่ที่อิตาลี ไอน์สไตน์จึงเดินทางไปหาครอบครัว ต่อมาไอน์สไตน์ได้สอบเข้าเรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ที่วิทยาลัยโปลีเทคนิค เมืองซูริค (Federal Poleytechnic of Zurich) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไอน์สไตน์สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนดีมาก ส่วนวิชาชีววิทยาและภาษา ได้แย่มาก ทำให้ เขาไม่ได้รับคัดเลือกให้เข้าเรียนในวิทยาลัยแห่งนี้ ต่อมาเขาได้รับจดหมายจากครูใหญ่ของวิทยาลัยโปลีเทคนิค ได้เชิญเขาไปพบและแนะนำให้เขาไปเรียนต่อ เพื่อให้ได้ประการศนียบัตร หลังจากนั้นเขาจึงเข้าเรียนที่วิทยาลัยของสวิตเซอร์แลนด์ ตามหลักสูตร 1 ปี ระหว่างนี้เขาได้พักอาศัยอยู่กับครูผู้หนึ่งที่สอนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ ไอน์สโตน์รู้สึกชอบวิทยาลัยแห่งนี้มาก เพราะการเรียนการสอนเป็นอิสระไม่บังคับ แนวการสอนเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในการเรียนก็ดีมาก เพราะได้มีการจัดห้องเรียนเฉพาะสำหรับแต่ละวิชา เช่น ห้องเรียนภูมิศาสตร์ก็มีภาพแผนที่ สถานที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แขวนไว้ โดยรอบห้อง ส่วนห้องเคมีก็มีอุปกรณ์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย หลังจากที่เขาจบหลักสูตรที่โรงเรียนมัธยม 1 ปี ไอน์สไตน์ได้เข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยเทคนิคในสาขาวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ตามที่ได้ตั้งใจไว้

       หลังจากจบการศึกษาแล้ว ไอน์สไตน์ได้สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค แต่ได้รับการปฏิเสธโดยไม่มีเหตุผล และด้วยความเห็นใจจากศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยซูริคได้ออกใบรับรองผลการศึกษาให้เข้า จากนั้นไอน์สไตน์ได้เริ่มออกหางานทำจากประกาศตามหน้าหนังสือพิมพ์ซึ่งมีประกาศรับอาจารย์หลายแห่ง ไอน์สไตน์ได้เข้ารับการสัมภาษณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีสถาบันแห่งใดรับเขาเข้าทำงานเลยแม้แต่สักที่เดียว ไอน์สไตน์เข้าใจว่าอาจจะเป็นเพราะเขาเป็นชาวยิว ดังนั้นในปี ค.ศ.1901 ไอน์สไตน์ได้โอนสัญชาติเป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถทำให้เขาหางานทำได้อยู่ดี ในที่สุดไอน์สไตน์ก็ได้งานทำเป็นครูในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง แต่ก็ทำอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็ถูกไล่ออก เขาจึงรับจ้างเป็นครูสอนพิเศษตามบ้าน แต่ก็ทำได้ไม่นานก็ถูกพ่อแม่ของเด็กเลิกจ้างอีก เนื่องจากไอน์สไตน์ได้แสดงความคิดเห็นว่าไม่ควรให้เด็กไปเรียนที่โรงเรียนอีก เนื่องจากครูที่โรงเรียนสอนคณิตศาสตร์ในแบบผิด ๆ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ไอน์สไตน์สอน ถึงแม้ว่าเด็ก ๆ จะรักและชอบ วิธีการสอนของเขาก็ตาม

       ต่อมาในปี ค.ศ.1902 ไอน์สไตน์ได้เจอกับเพื่อนเก่าคนหนึ่งได้ฝากงานที่สำนักงานจดทะเบียนสิทธิบัตรที่กรุงเบิร์น ถึงแม้ว่าไอน์สไตน์จะไม่ชอบงานที่นี่ แต่เขาก็ยังคงทำ จึงทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น และมีโอกาสได้พบกับสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่ ในระหว่างที่ไอน์สไตน์ทำงานอยู่ที่นี่ เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการประดิษฐ์สิ่งของ สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของไอน์สไตน์คือ "เครื่องมือบันทึกการวัดกระแสไฟฟ้า"

       ในปี ค.ศ.1903 ไอน์สไตน์ได้แต่งงานกับมิเลวา มารี เพื่อนเก่าสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค และในปีเดียวกันนี้เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้กับนิตยสารเยอรมนีฉบับหนึ่ง และในปี ค.ศ.1905 บทความเรื่องของไอน์สไตน์ก็ได้รับความสนใจ และยกย่องอย่างมาก บทความเรื่องนี้เป็นของทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพลังงาน กับมวลสาร
    โดยเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ E = mc2 โดย
    E (Energy) = พลังงาน
    m (mass) = มวลสารของวัตถุ
    c = ความเร็วแสง

       ทฤษฎีสัมพัทธภาพนี้เองต่อมาได้นำไปสู่การค้นคว้าเรื่อง "พลังงานปรมาณู" เพราะทฤษฎีนี้อธิบายว่ามวลเพียงเล็กน้อยของแร่ชนิดหนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลที่ใช้ในโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้อย่างสบาย ในระยะแรกที่ไอน์สไตน์เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจนัก แต่เมื่อไอน์สไตน์อธิบายให้ฟังด้วยวิธีง่าย ๆ ก็เกิดความเข้าใจมากขึ้น และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตขั้นเกียรตินิยมสูงสุด
       ในปี ค.ศ.1909 เขาได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซูริค (Zurich University) ซึ่งไอน์สไตน์ตอบรับทันทีเนื่องจากเขาต้องการแสดงให้ทุกคนได้เห็นถึงความสามารถของเขา ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้เคยปฏิเสธเขามาแล้ว

       ในปี ค.ศ.1911 ไอน์สไตน์ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยปราค (Prague) ในปีต่อมาไอน์สไตน์ได้รับเชิญจากวิทยาลัยเทคนิค ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของเขา ไอน์สไตน์ตกลงทันทีเนื่องจากเขาต้องการพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญของเขา ในระหว่างนี้มีมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ อีกหลายแห่งเชิญเขาไปสอน แต่เขาก็ปฏิเสธ และเขาได้ตอบรับเป็นศาสตราจารย์พิเศษสอนที่สถาบันไกเซอร์วิลเฮล์ม (Kaiser Wilhelm Institute) การที่เขาตอบรับครั้งนี้ เนื่องจากการได้สนทนากับพระเจ้าไกเซอร์ ผู้ก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ ไอน์สไตน์รู้สึกถูกอัธยาศัย ประกอบกับความสนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน และต่อมาอีก 2 ปี ไอน์สไตน์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการประจำสถาบันแห่งนี้

       ในปี ค.ศ.1914 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทำให้เกิดความวุ่นวายโดยเฉพาะในยุโรป แต่ถึงอย่างนั้นในปี ค.ศ.1915 ไอน์สไตน์ก็ยังทำการค้นคว้าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และออกตีพิมพ์หนังสืออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า "ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of Relativity)" ซึ่งเป็นทฤษฎีที่หลายคนก็ไม่เข้าใจในทฤษฎีข้อนี้ แต่ด้วยความที่ไอน์สไตน์เป็นคนสุขุมเยือกเย็น เขาได้อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีในหลายลักษณะเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยสมมติว่า มีรถไฟ 2 ขบวน ขบวนหนึ่งจอดอยู่กับที่ อีกขบวนหนึ่งกำลังวิ่งสวนทางไป ผู้โดยสารที่อยู่บนรถไฟที่จอดอยู่อาจจะรู้สึกว่ารถไฟกำลังวิ่งอยู่ เพราะฉะนั้น อัตราเร็วและทิศทาง จึงมีความเกี่ยวข้องกัน

       ในปี ค.ศ.1921 ไอน์สไตน์ได้เสนอผลงานออกมาอีกชิ้นหนึ่ง คือ "ทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)" ผลงานชิ้นนี้เองทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และรางวัลจากอีกหลายสถาบัน เช่น
  - ค.ศ.1925 ได้รับเหรียญคอพเลย์ จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน
  - ค.ศ.1926 ได้รับเหรียญทองราชดาราศาตร์
  - ค.ศ.1931 ดำรงตำแหน่งนักค้นคว้าของวิทยาลัยไครสต์เชิร์ช แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด
  - ค.ศ.1933 เขาได้รับเชิญจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของสถาบันบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ (Institute for Advance Study at Princeton, New Jersey)

       นอกจากนี้ทฤษฎีของเขายังสามารถล้มล้างทฤษฎีของจอห์น ดาลตัน (John Dalton) นักฟิสิกส์และเคมีชาวอังกฤษที่ว่า "สสารย่อมไม่สูญหายไปจากโลก เพราะอะตอมเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร ซึ่งไม่สามารถจะแยกออกไปได้อีก" แต่ไอน์สไตน์ได้กล่าวว่า "สสารย่อมมีการสูญสลาย นอกจากพลังงานเท่านั้นที่จะไม่สูญหาย" เพราะพลังงานเกิดขึ้นจากการสสารที่หายไป และอะตอมไม่ใช่ส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร เพราะฉะนั้นจึงสามารถแยกออกได้อีก

       ในปี ค.ศ.1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ไอน์สไตน์รู้สึกเสียใจมาก เนื่องจากเยอรมนีในฐานะผู้ก่อสงคราม และมีฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ฮิตเลอร์รังเกียจชาวยิว และกล่าวหาชาวยิวว่าเบียดเบียนชาวเยอรมันในการประกอบอาชีพ แต่ไอน์สไตน์ ก็ยังโชคดีเพราะว่าก่อนหน้านี้ ในปี ค.ศ.1933 ได้อพยพออกจากเยอรมนี เพราะในขณะนั้นฮิตเลอร์ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเยอรมนี และเริ่มขับไล่ชาวยิวออกจากเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 ไอน์สไตน์เห็นว่าสถานการณ์ไม่สู้ดีนักจึงเดินทางออกมา แต่ยังมีชาวยิวกว่า 2,000,000 คน ที่ยังอยู่ในเยอรมนีและถูกสังหารไปกว่า 1,000,000 คน
       
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามที่ยืดเยื้อนานกว่า 6 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และรัสเซีย และฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ต่อมาช่วงกลางปี ค.ศ.1945 เยอรมนี และอิตาลีได้ยอมแพ้สงครามเหลือเพียงแต่ญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ยอมแพ้ ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งลูกระเบิดปรมาณู เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม ระเบิดปรมาณูได้ทดลองสร้างขึ้นในระหว่างสงครามครั้งนี้ ซึ่งมีไอน์สไตน์เป็นผู้ริเริ่มและควบคุมการผลิต ลูกระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกได้ทำการทดลองทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายกว่า 150,000 คน แต่ญี่ปุ่นยังไม่ประกาศยอมแพ้ ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งระเบิดอีก 1 ลูก ที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki) ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 100,000 คน เช่นกัน ลูกระเบิด 2 ลูกนี้ ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามและปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 ลง
       
ไอน์สไตน์เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 หลังจากที่ไอน์สไตน์เสียชีวิตไปแล้วมีการสร้างอนุสาวรีย์รูปไอน์สไตน์ครึ่งตัวขึ้นภายในสถาบันฟิสิกส์ แห่งกรุงเบอร์ลิน เรียกว่า หอคอยไอน์สไตน์ เพื่อระลึกถึงความสามารถของเขา

6. ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin)



ชาร์ลส์ ดาวิน (Charles Robert Darwin) 
เกิด 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1809 ที่เมือง Shrubbery อังกฤษ
เสียชีวิต 19 เมษายน 1882 ที่เมือง Shrophire อังกฤษ
เป็นชาวอังกฤษ ธรรมชาติวิทยา ผู้ศึกษาเรื่องราวของสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติทุกอย่างที่อยู่ใกล้มนุษย์และเป็นผู้บุกเบิกในการเดินทางรอบโลกเพื่อสำรวจด้านนิเวศวิทยา ผู้พิสูจน์ว่ามนุษย์มาจากลิง ซึ่งเมื่อก่อนจะเชื่อกันว่าพระเจ้าสร้างโลกและเป็นผู้สร้างมนุษย์ด้วย แต่กลับมีฝรั่งอีกคนยืนยันว่า มนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากพืชและสัตว์จนกลายร่างมาเป็นมนุษย์ สัตว์ที่มีลักษณะใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุดคือ ลิง ลิงซิมแปนซีที่ไม่มีหาง แต่มีหน้าตาท่าทาง ความเป็นอยู่คล้ายมนุษย์ทุกอย่าง เช่น ดีใจ เสียใจ รักหรือโกรธ ทั้งนี้ก็เป็นผลมาจากการที่เขาได้เดินทางไปสำรวจมนุษย์และสัตว์มารอบโลกเป็นเวลากว่า 6 ปี
ดาวิน มีบิดาเป็นนายแพทย์ ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน เป็นผู้มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งในอังกฤษ และพ่อของเขาก็อยากให้เขาเป็นแพทย์ด้วย เมื่ออายุได้ 16 ปีบิดาได้ส่งไปเรียนแพทย์ที่ เอดินเบิร์ก แต่เขากลับไม่ค่อยสนใจเรียนเอาแต่นั่งหลับอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าพูดถึงเรื่องธรรมชาติ เช่น เรื่องธรรมชาติของนก เขาจะใจจดจ่อตลอดเวลา เมื่อบิดาทราบว่าเขาไม่ค่อยอยากเรียนแพทย์ จึงได้ส่งเขาไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดส์ เขาสำเร็จการศึกษาเมื่ออายุ 19 ปี ด้านธรรมชาติวิทยา ระหว่างที่เล่าเรียนอยู่นั่นเขาสนใจอ่านหนังสือเรื่องธรรมชาติวิทยาของชาวเยอรมัน จึงสนใจสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ สัตว์และพืช รวมทั้งการเกิดและความเป็นมาอีกด้วย
หลังจากจบการศึกษาพอดีกับรัฐบาลได้ส่งคนออกสำรวจโลกด้านธรรมชาติวิทยา ชาร์ล ดาวิน ได้ร่วมออกเดินทางด้วยเป็นเวลากว่า 5 ปีเศษ เรือเดินทางไปอเมริกาใต้อ้อมแหลมออกมหาสมุทรแปซิฟิกไปสุมาตรา อ้อมแหลมกู๊ดโฮปกลับไปอังกฤษ ระหว่างการเดินทางเขาได้พบทั้งคน สัตว์ และพืชนานาชนิด เขาวาดภาพ และเก็บตัวอย่างกลับมาอังกฤษมากมาย จนเขาเชื่อโดยมีหลักฐานยืนยันว่าสัตว์และพืชมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันและคนมีวิวัฒนาการมาจากลิง
ทำไมเขาถึงยืนยันเช่นนั้น
·         การแสดงความไม่พอใจหรือเมื่อสงสัยลิงจะแสดงกิริยาโดยยื่นปากหรือบุ้ยใบ้ริมฝีปาก
·         เมื่อดีใจจะแสดงอาการยิ้ม แสดงว่าพอใจและการยิ้มนี้มีมนุษย์เท่านั้นที่ทำได้
·         ถ้ากังวลใจจะมีกิริยาแบบเดียวกับที่มนุษย์ทำอยู่
·         เมื่อโกรธจะแสดงท่าทางอย่างเดือดดาลที่สุดคล้ายจะกินเลือดกินเนื้อ
นอกจากนี้ท่าทางการเดิน ลักษณะ รูปร่างคล้ายคนมากที่สุด แต่คนได้วิวัฒนาการมาและมีความฉลาดมากว่าจึงรู้จักคิด และประดิษฐ์สิ่งของจึงเจริญกว่าลิงที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อดาวินเสนอทฤษฎีนี้ออกมาคนทั่วไปกล่าวว่า ดาวินเป็นผู้ทำลาย และเป็นคนนอกศาสนา เป็นคนนอกคอก
ผลงานการค้นพบที่สำคัญ ของ ชาร์ลส์ ดาวิน (Charles Robert Darwin)
·         ผู้พิสูจน์ว่ามนุษย์มาจากลิง
·         งานเขียนหนังสือ The Original of Species
·         The Decent of Man
·         หนังสือการออกสำรวจทั่วโลกชื่อ A Naturalist’s Voyage Around World.ฯลฯ

·         ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

7. โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison)




เกิด        วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1847 เมืองมิลาน (Milan) มลรัฐโอไฮโอ (Ohio) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State
             of America)
เสียชีวิต วันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ.1931 ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
ผลงาน   - ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า
             - เครื่องเล่นจานเสียง
             - กล้องถ่ายภาพยนตร์
             - เครื่องขยายเสียง
             - หีบเสียง
             - เครื่องบันทึกเสียง
        ถ้าจะพูดถึงนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่แล้ว คงจะไม่มีใครเหนือกว่าเอดิสัน เอดิสันประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เป็น
ประโยชน์จำนวนมากกว่า 1,000 ชิ้น นอกจากนี้เขายังปรับปรุงเครื่องใช้ที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น โทรศัพท์
เครื่องส่งโทรเลข เป็นต้น ผลงานการประดิษฐ์ของเขาเป็นสิ่งที่สร้างความสะดวกสบาย และเป็นประโยชน์อย่างมากให้กับ
สาธารณชน

         
เอดิสันเกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1847 ที่เมืองมิลาน มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาชื่อว่า แซมมวล
เอดิสัน (Samuel Edison) ประกอบธุรกิจในประเทศแคนาดา และได้เข้าร่วมกับขบวนการต่อต้างรัฐบาล เมื่อฝ่ายต่อต้านพ่ายแพ้
เขาจึงต้องลี้ภัยการเมืองมาอยู่ที่ประเทศสหรัฐฯ และทำธุรกิจเกี่ยวกับไม้แปรรูปทุกชนิด เมื่อเอดิสันอายุได้ 7 ขวบ ครอบครัวเขาได้
อพยพไปอยู่ที่เมืองพอร์ตฮิวรอน (Port Huron) รัฐมิชิแกน (Michiganป เนื่องจากกิจการของครอบครัวประสบปัญหา และเขา
ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนในเมืองพอร์ตฮิวรอนนั่นเอง แต่เขาไปโรงเรียนได้เพียง 3 เดือน เท่านั้นก็ไม่ยอมไปอีก ด้วยความ
ที่เขาเป็นเด็กซุกซนอยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา ทำให้ถูกครูตำหนิและลงโทษ เมื่อเขาออกจากโรงเรียนมารดาจึงรับหน้าที่เป็นครูสอน
หนังสือให้เขา เขาเรียนหนังสือยู่เพียง 2 ปี เท่านั้น ก็สามารถอ่านเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว


        สิ่งที่เอดิสันให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ วิทยาศาสตร์ การทดลอง และการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ดังนั้นเขาจึงเริ่มหางานทำ
ตั้งแต่อายุได้ 12 ปี เพื่อหาเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการสร้างห้องทดลองวิทยาศาสตร์ อีกทั้ง
เขาไม่ค่อยชอบเรียนหนังสือในโรงเรียน เอดิสันได้งานทำในบริษัทรถไฟแกรนทรังค์ (Grand Trank Train Company)
ในหน้าที่เด็กขายหนังสือพิมพ์ บนรถไฟสายพอร์ตฮิวรอน - ดีทรอยต์ (Port Huron - Detroit) เอดิสันได้ใช้ตู้รถไฟตู้หนึ่งเป็น
ที่พัก เก็บสารเคมี และหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขามักใช้เวลาว่างส่วนใหญ่อยู่ในห้องพักเพื่ออ่านหนังสือ และทำการทดลอง
วิทยาศาสตร์ เอดิสันได้ทำงานอยู่ระยะหนึ่งเขาก็สามารถเก็บเงินได้จำนวนหนึ่ง เขานำเงินไปซื้อแท่นพิมพ์เล็ก ๆ เครื่องหนึ่ง เพื่อมา
พิมพ์หนังสือพิมพ์ของเขาเอง ซึ่งเขาเป็นเจ้าของบรรณาธิการ นักเขียน และพนักงานขายหนังสือพิมพ์ด้วย หนังสือพิมพ์ของ
เอดิสันมีชื่อว่า Grand Trank Herald ซึ่งขายดีมาก เอดิสันได้นำเงินกำไรส่วนหนึ่งซื้ออุปกรณ์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ 
สารเคมี แร่ และหนังสือวิทยาศาสตร์ แต่วันหนึ่งเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อรถไฟเกิดกระชากอย่างแรงทำให้แท่งฟอสฟอรัส
ตกกระแทกพื้น แล้วเกิดระเบิดอย่างแรง ทำให้ไฟไหม้ตู้รถไฟของเขา แต่โชคดีที่ดับไฟทันไม่ได้ลุกลามไปตู้อื่น แต่ถึงอย่างนั้นเขา
ก็ถูกไล่ออกจากงาน และทำให้หูของเขาต้องพิการ
         

ต่อมาในปี ค.ศ.1889 เขาได้ประดิษฐ์เครื่องมือเกี่ยวกับการถ่ายภาพขึ้น โดยใช้หลักการเดียวกับเครื่องบันทึกเสียง ซึ่งต่อมา
ได้พัฒนามาเป็นการถ่ายภาพเคลื่อนไหว หรือกล้องถ่ายภาพยนตร์ แต่ในขั้นแรกภาพที่ถ่ายยังไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ต่อมาในปี
ค.ศ.1912 เขาได้ปรับปรุงและทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้ นอกจากกล้องถ่ายภาพยนตร์แล้วเขายังสร้างเครื่องฉายภาพยนตร์ ขึ้นด้วย
ต่อจากนั้นเอดิสันได้สร้างภาพยนตร์ที่พูดได้ครั้งแรกของโลกขึ้น โดยใช้เครื่องบันทึกเสียงเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการฉาย
ภาพยนตร์ เขาได้ว่าจ้างนักแสดงจากบรอดเวย์ (Broadway) มาแสดงในภาพยนตร์ของเขา ภาพยนตร์เครื่องแรกของเอดิสัน
ชื่อว่า Synchronized Movie

        
ผลงานของเอดิสันยังมีอีกหลายชิ้น ได้แก่ เครื่องเล่นจานเสียง เครื่องขยายเสียง (Amplifier) เครื่องอัดสำเนา (Duplicating
Machine)
และแบตเตอรี่ที่ทำจากนิกเกิลและเหล็ก เป็นต้น เอดิสันได้ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการประดิษฐ์คิดค้น เครื่องมือ
เครื่องใช้ต่าง ๆ อยู่เสมอ การที่เขาทำงานอย่างหนักและพักผ่อนเพียงวันละ 3-4 ชั่วโมง เท่านั้น ทำให้เอดิสันได้ล้มป่วยลงด้วยโรค
กระเพาะ เบาหวาน และปัสสาวะเป็นพิษแต่เมื่ออาการทุเลาลง แทนที่เขาจะหยุดพักผ่อนกลับไปทำงานอย่างหนักอีก ทำให้อาการ
ป่วยกำเริบขึ้นมาอีกครั้ง และเป็นสาเหตุทำให้เขาเสียชีวิตในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ.1931 จากนั้นรัฐบาลได้สร้างหลอดไฟฟ้าที่ใหญ่
ที่สุดในโลก ไว้บนยอดเสาสูง 13 ฟุต 8 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 9 ฟุต 2 นิ้ว หนัก 3 ตัน มีหลอดไฟบรรจุอยู่ภายในถึง 12 ดวง
ซึ่งมีกำลังไฟฟ้ารวมกันถึง 5,200 วัตต์ หลอดไฟฟ้าอันนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1934 เพื่อระลึกถึงคุณประโยชน์ที่เขาได้สร้างเอาไว้

8.นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla)


นิโคลา เทสลา เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1886 ในพื้นที่ที่เป็นประเทศโครเอเชีย (Croatia) ในปัจจุบัน มีพ่อแม่เป็นชาวเซิร์บ (Serbian) เทสลาเป็นเด็กฉลาด อยากรู้อยากเห็น แต่ก็ออกจะมีนิสัยแปลกๆอยู่สักหน่อย 

เขาสนใจในทุกสิ่งรอบตัว มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เทสลาพยายามบิน โดยถือร่มคันหนึ่งไว้ในมือแล้วกระโดดลงมาจากหลังคาโรงนา และเขาประดิษฐ์มอเตอร์พลังแมลงโดยใช้แมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ต้องล้มเลิกการทดลองนี้ไป เมื่อมีเพื่อนกินแมลงบางส่วนเข้าไป นอกจากนี้ยังเคยพยายามสร้างกระแสไฟฟ้าโดยนำแมวสองตัวมาถูกัน การทดลองนี้ได้ผลลัพธ์เป็นแมวโมโหสองตัวและเทสลาที่โดนข่วนทั่วตัว

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1884 เทสลาเดินทางมาถึงสหรัฐอเมริกา โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) จ้างงานเขาให้มาดูแลงานวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น จนสุดท้ายเทสลาได้ออกแบบเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ขับเคลื่อนธุรกิจของเอดิสัน 

เอดิสันเสนอเงิน 50,000 ดอลลาร์ให้เทสลา หรือเทียบเท่าเงินประมาณ 1,100,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน เพื่อค้นคว้าพัฒนาเครื่องจักรนี้ หลังจากทำงานเสร็จสิ้น เทสลาได้ทวงถามค่าแรง แต่เอดิสันไม่ยอมจ่าย โดยอ้างว่าเขาไม่ได้พูดจริงและเทสลาเองที่ไม่เข้าใจอารมณ์ขันของชาวอเมริกัน 

สุดท้าย เทสลาก็ลาออกจากบริษัทของเอดิสัน และไปร่วมงานกับ จอร์จ เวสติงเฮาส์
 ในปี ค.ศ. 1888 เพื่อทำให้ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) ของเขาเป็นไปในเชิงพาณิชย์มากขึ้น ปัญหาอยู่ตรงที่ระบบไฟฟ้ากระแสสลับนี้จะต้องแข่งขันกับระบบไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) ซึ่งเป็นระบบที่เอดิสันผูกขาดอยู่เพียงเจ้าเดียว นี่เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามระหว่างกระแสไฟฟ้าสองระบบ

เอดิสันเริ่มกระจายข่าวสาดโคลนไปที่เทสลาและกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ และพยายามให้ผู้คนหวาดกลัวระบบนี้จนไม่กล้าใช้ เขาทั้งกระจายข้อมูลเท็จ วิ่งเต้นล๊อบบี้ต่อต้านการใช้ระบบกระแสสลับ และยังแสดงการช๊อตไฟฟ้าช้างละครสัตว์ต่อหน้าสาธารณะชนอีกด้วย 

พูดรวมๆแล้ว เอดิสันร้ายมาก เพราะระบบไฟฟ้ากระแสตรงก็มีข้อเสียมากมาย โดยเป็นต้นเหตุให้เด็กหลายคนต้องเสียชีวิตและทำให้เกิดอัคคีภัยกับที่พักอาศัยมากมาย นอกจากนี้ ระบบไฟฟ้ากระแสตรงสามารถส่งกระแสไฟฟ้าออกไปได้มากที่สุดเพียงสองไมล์เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าย่อยจำนวนมากเพื่อให้กระแสไฟฟ้ามีกำลังพอส่งไปตามระยะทางไกลๆได้ หากเรายังใช้ระบบนี้จนถึงปัจจุบัน ก็คงต้องสร้างโรงไฟฟ้าย่อยๆมากมายเพื่อให้ส่งกระแสไฟฟ้าไปได้ทั่วสหรัฐอเมริกา ส่วนระบบไฟฟ้ากระแสสลับของเทสลานั้นสามารถส่งกระแสไฟฟ้าออกไปได้เป็นร้อยๆไมล์ และแสงไฟจากไฟฟ้ากระแสสลับจะเป็นแสงสีขาวสว่าง ไม่เหมือนแสงสีเหลืองหม่นจากกระแสไฟฟ้ากระแสตรง 

ในที่สุด เอดิสันก็ต้องยอมจำนนต่อฝูงชน และยอมแพ้ให้กับระบบกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ อิทธิพลของเทสลายังส่งผลไปในด้านอื่นๆนอกจากเรื่องกระแสไฟฟ้าด้วย เขาได้จดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ไว้กว่า 700 ฉบับ และเป็นต้นคิดให้หลากหลายความคิด อย่าง หุ่นยนต์ หัวเทียน เครื่องเอกซ์เรย์ กังหันไร้ใบ การสื่อสารแบบไร้สาย มอเตอร์ไฟฟ้า เทคโนโลยีเลเซอร์ ไฟนีออน อุปกรณ์ควบคุมระยะไกล การสื่อสารผ่านระบบเซลลูลาร์ วิทยุ อ่างอาบน้ำไฟฟ้าเพื่อฆ่าเชื้อโรค เรดาร์ และอื่นๆอีกมากมาย

เทสลาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวในห้องโรงแรมในเมือง นิวยอร์ก ซิตี้ เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1943 ถึงแม้ว่าเขาจะมีชื่อเสียงและมีอิทธิพลต่อโลกของเรามาก เขากลับเสียชีวิตทั้งที่มีหนี้สินมากมายและอย่างโดดเดี่ยว เอดิสันเป็นที่รู้จักกันในนามนักประดิษฐ์แห่งศตวรรษ ส่วนเรื่องราวของเทสลากลับมีความยาวเพียงแค่หนึ่งย่อหน้าในหนังสือประวัติศาสตร์

9.กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi)



กูกิลโม มาร์โคนี นักประดิษฐ์ชาวอิตาลี ผู้ได้รับสิทธิบัตรในการค้นคว้าการส่งโทรเลขไร้สายเป็นคนแรกเมื่ออายุเพียง 22 ปี และเป็นเจ้าของรางวัลโนเลยสาขาฟิสิกส์ในปี 1909 และได้รับการยกย่องอย่างสูงจากทั่วโลกในสิ่งประดิษฐ์อันมีประโยชน์ของเขา
กูกิลโม มาร์โคนี เกิดเมื่อปี 1874 ที่โบโลนา ในประเทศอิตาลี มีบิดาเป็นชาวอิตาเลียนและมารดาเป็นชาวไอริช เขาได้รับแรงดลใจจากการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของคลาร์ค แม็กซ์เลล์ และการทดลองการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวดของไฮริช เฮิร์ท นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
หลังจากการค้นพบของเฮิร์ทไม่นาน เด็กหนุ่มชาวอิตาลี ชื่อ กูกิลโม มาร์โคนี ซึ่งศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยโบโลนาในประเทศอิตาลีได้พบปะกับนักวิทยาศาสตร์ คนหนึ่งซึ่งเคยทำงานกับเฮิร์ทในประเทศเยอรมัน งานของเฮิร์ททำให้มาร์โคนีเกิดจินตนาการ เขาได้สร้างเครื่องรับส่งวิทยุอย่างง่าย ๆ ไว้ในห้อง 2 ห้องที่บ้านของบิดา และในไม่ช้าเขาก็สามารถส่งสัญญาณข้ามห้องจาก ห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งได้ เขาพบว่า ถ้าเขาสร้างเสาอากาศให้สูงขึ้น เขาจะสามารถส่งสัญญาณของเขาได้ไกลขึ้น ในปี ค.ศ. 1895 เมื่อเขาอายุได้ 21 ปี เขาส่งสัญญาณไปไกลถึง 1.5 กิโลเมตร เขาเห็นความสำคัญของการค้นพบนี้ การทดลองต่อต้องการทุนทรัพย์ แต่ไม่มีใครสนใจในเรื่องนี้นัก เมื่อเขาไม่ได้รับการสนับสนุนในอิตาลีจึงเดินทางไปลอนดอนในปี 1896 และการไปรษณีย์ของอังกฤษ ให้ความช่วยเหลือและด้วยการปรับปรุงวิธีการของ เฮิร์ทในหลาย ๆ ด้าน เขาเริ่มสามารถส่งสัญญาณไปไกล ๆ ขึ้นในปี ค.ศ.1899 เขาส่งสัญญาณจากสถานีหนึ่งบนฝั่งด้านใต้ไปยังสถานีในฝรั่งเศส ซึ่งไกลออกไป 50กิโลเมตร และที่ระยะ 120 กิโลเมตร ได้สำเร็จ 
เจ้าของเรือเริ่มติดตั้งเครื่องมาร์โคนี ในเรือเดินทะเลของเขา หลายคนรู้สึกประทับในเมื่อเรือที่กำลังเดินทางในกู๊ดวินแซนด์ในทะเลเหนือ ได้รับการเตือนให้ทราบถึงภัยอันตราย ด้วยคลื่นวิทยุจากมาร์โคนี ทำให้เรือกับลูกเรือทุกคนปลอดภัย
ในปี ค.ศ. 1901 มาร์โคนีส่งสัญญาณวิทยุได้ระยะทางไกลกว่า 2,700 กิโลเมตร จากคอร์นวอลถึงนิวฟาวน์แลนด์ ที่ทุกคนบอกว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะแม็กซ์เวลได้แสดงให้เห็นว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเดินทางเป็นเส้นตรงเหมือนแสง แต่ระยะทางถึงนิวฟาวน์แลนด์ไม่ได้เป็นทางตรง เพราะโลกนี้โค้ง ทุกคนคิดว่าคลื่นวิทยุของเขาจะเดินเป็นเส้นตรงและหายไปในอากาศ แต่ปรากฏว่าคลื่นวิทยุที่ได้ที่นิวฟาวน์แลนด์นั้น ชัดเจนซึ่งแม้แต่ มาร์โคนี ก็ไม่ทราบเหตุผล ในปัจจุบันนี้เราทราบว่าสูงขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลประมาณ 110 กิโลเมตร จะมีชั้นอนุภาคไฟฟ้า ซึ่งเรียกกันว่าไอโอโนสเฟียร์ และชั้นนี้จะเป็นตัวสะท้อนคลื่นวิทยุกลับมายังโลกเมื่อคลื่นไปกระทบถูกชั้นบรรยากาศ 20,000 เมตร ถ้าส่งข่าวสารออกด้วยความยาวคลื่นหนึ่ง หรือความถี่หนึ่งเครื่องรับจะต้องปรับให้ตรงกับความยาวคลื่นนั้น โดยเฉพาะจะได้ไม่ยุ่งกับสัญญาณที่ส่งมาด้วยความยาวอื่น เครื่องวิทยุของเราจึงมีหน้าปัดที่มีตัวเลข หรือเครื่องหมายบอกความยาวของคลื่น เพื่อให้เราสามารถเลือกโปรแกรมที่เราต้องการฟังได้วิทยุคลื่นสั้น (ความถี่สูง)เป็นสิ่งที่เหมาะกับรายการที่ถูกส่งมาจากระยะไกล ๆ หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มาร์โคนีทำการทดลองส่วนใหญ่เกี่ยวกับสัญญาณคลื่นสั้น

ในระยะเวลาอันสั้นที่มาร์โคนีมีชีวิตอยู่ วิทยุได้พัฒนามาจากการค้นพบของเฮิร์ทจนมีรายการทั้งการพูดดนตรีถูกส่งไปทั่วโลก เมื่อเขาถึงแก่กรรมในโรม เมื่อปี 1937 ได้มีการจัดงานกันอย่างเป็นทางการและศพเขาได้ฝังในบ้านเกิดของเขาที่โบโลนา ประเทศอิตาลี