วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน้าปก

ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ 10 คน







เสนอ

อาจารย์ศุภสัณห์   แก้วสำราญ

จัดทำโดย

นางสาว วิริญญา   ชูช่วย    เลขที่ 26

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557


คำนำ

      รายงานเล่มนี้    รายวิชา การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  กลุ่มสาระการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  เป็นเนื้อเกี่ยวกับทางวิชาการในเรื่องประวัติของนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญถึง 10 คนด้วยกัน รายงานเล่มนี้เน้นการสร้างความรู้และคำอธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและความสำคัญของนักวิทยาศาสตร์แต่ละบุคคล รายงาน  เล่มนี้จัดทำเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการสอนภายในโรงเรียนตามความเหมาะสม
       หวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการหาความรู้ไดอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักการ
และจุดมุ่งหมาย   ขอขอบคุณเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลในการทำรายงานเล่มนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีไว้ ณ โอกาสนี้

(นางสาววิริญญา  ชูช่วย)


บทนำ



มาทำความรู้จัก นักวิทยาศาสตร์ของโลก และ ประวัตินักวิทยาศาสตร์โลก กันเลย โดยเรามี ชื่อนักวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญจำนวน 10 คนมาแนะนำให้รู้จัก
 
          นักวิทยาศาสตร์ในโลกนี้มีมากมาย แต่มีไม่กี่คนนักหรอกที่ประสบความสำเร็จจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก และสร้างความเปลี่ยนแปลงจนคนรุ่นหลังต้องขอบคุณสิ่งประดิษฐ์ที่พวกเขาคิดค้นขึ้น ซึ่งกว่าที่พวกเขาจะมีชื่อเสียงเป็นที่นับถือจากผลงาน หลาย ๆ คนก็อาจต้องเสียสละหรือผ่านความยากลำบากมาก่อนโดยที่เราไม่คาดคิด ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมก็ได้รวบรวมเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ 10 คนมาฝากกัน ...ตามมาอ่านเรื่องราวของพวกเขากันเลย

1. เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton)




ประวัติ : นักคณิตศาสตร์  นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญา  เกิด  ค.ศ. 1642 ที่ลินคอล์นเคาน์ตี้ ประเทศอังกฤษ  
ตาย ค.ศ. 1727  อายุ  85  ปี


ผลงานที่สำคัญ : คิดทฤษฎีไบโนเมียลได้  คิดฟลักเซียลได้สำเร็จ  ซึ่งต่อมาเรียกใหม่ว่า กฎเกณฑ์ในวิชาอินทีกราลแคลคูลัส  
สร้างกล้องโทรทัศน์แบบสะท้อนแสง  พบแรงโน้มถ่วงของโลก และความโน้มถ่วงของจักรวาล และตั้งกฎของความโน้มถ่วง (Law  of  Gravitation)
พบว่า ปริซึมสามารถแยกแสงจากดวงอาทิตย์ได้เป็น  7  สี  คือ แดง  ส้ม  เหลือง  เขียว  น้ำเงิน  คราม  และม่วง  พบกฎการเคลื่อนที่

นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ นิวตันเกิดที่เมืองวูลสธอร์ป ลิงคอนไชร์ ประเทศอังกฤษ

ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก ไลบ์นิซ และแฟลมสตีด ซึ่งนิวตันได้แก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจิตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของ นิวตัน เอง นิวตัน ตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของ นิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตัน ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสภา 



2. หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)



เกิด        วันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล (Dole) มลรัฐจูรา (Jura) ประเทศฝรั่งเศส (France)
เสียชีวิต วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895 ประเทศฝรั่งเศส (France)
ผลงาน   - ค้นพบวัคซีนป้องกันพิษสุนัขป่า
             - ค้นพบว่า จุลินทรีย์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย
             - ค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการนำมาต้มหรือเรียกว่า พาลเจอร์ไรเซชัน(Pasteurization)

          ปาสเตอร์เป็นนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขา และคุณประโยชน์อย่างมากให้กับศาธารณชน
คือ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เป็นโรคระบาดที่รุนแรง แต่ก็สามารถคร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมากเช่นกัน
นอกจากนี้เขายังค้นพบวัคซีนอีกหลายชนิด ได้แก่ อหิวาตกโรค วัณโรค และโรคคอตีบ ผลงานของเขาที่สร้างคุณประโยชน์อย่าง
มากอีกชิ้นหนึ่ง คือ การค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แบบพาสเจอร์ไรต์ ในปัจจุบันวิธีการนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะสามารถเก็บ
รักษาอาหารได้นานและปลอดภัยมากที่สุด

          ปาสเตอร์เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล มลรัฐจูรา ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นช่างฟอกหนังชื่อว่า
จีน โจเซฟ ปาสเตอร์ (Jean Joseph Pasteur) และเคยเป็นทหารในกองทัพของพระเจ้านโปเลียนมหาราช และได้รับเหรียญ
กล้าหาญจากสงครามด้วย ต่อมาครอบครัวของปาสเตอร์ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอาร์บัวส์ (Arbors) แม้ว่าฐานะครอบครัวของเขาจะมี
ฐานะไม่ดีนัก แต่บิดาก็ต้องการให้หลุยส์มีความรู้ที่ดี การศึกษาขั้นแรกของปาสเตอร์เริ่มต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดอาร์บัวส์
ซึ่งวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่เขาเรียนได้ดีที่สุด นอกจากนี้เขามีความสามารถในการวาดรูปอีกด้วย โดยเฉพาะภาพเหมือน
(Portrait) เขามีความชำนาญมากที่สุดรูปเหมือนที่ปาสเตอร์ได้วาด เช่น ภาพบิดา มารดา และเพื่อน ๆ ของเขา เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน
ภาพเหล่านี้ได้ถูกแขวนประดับไว้ในสถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (The Pasteur Institute in Paris)
ด้วยความที่ปาสเตอร์เป็นนักเรียนที่เรียนดี มีความสามารถ และความประพฤติเรียบร้อย จึงได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ใหญ่
ของวิทยาลัยอาร์บัวส์ให้ไปเรียนที่อีโคล นอร์เมลซูพีเรีย (Ecole Normale Superiere) ซึ่งเป็นสถาบันฝึกหัดครูชั้นสูงที่มี
ชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงปารีสด้วยอาจารย์ใหญ่ต้องการให้เขากลับมาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยอาร์บัวส์นั่นเอง แต่ปาสเตอร์เรียนอยู่ที่นี่
ได้ไม่นาน บิดาก็ต้องมารับกลับบ้าน ด้วยเขาป่วยเป็นโรคคิดถึงบ้าน (Home Sick) อย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะถึงขั้นเป็นโรคประสาท
ได้ในเวลาต่อมา

         ต่อมาเขาได้เข้าเรียนต่อวิชาอักษรศาสตร์ ที่รอยับลคอลเลจ (Royal College) ในเบซานกอน (Besancon) หลังจาก
จบการศึกษาแล้ว ปาสเตอร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ต่อจากนรั้นปาสเตอร์ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบันฝึกหัดครูชั้นสูง
Ecole Normale Superiere อย่างที่เขาตั้งใจในครั้งแรก ในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่นี่เขามีโอกาสได้เรียนวิชาเคมีกับนักเคมี
ผู้มีชื่อเสียง 2 ท่าน คือ เจ.บี. ดีมาส์ (J.B. Dumas) และ เอ.เจ. บาลาร์ด ซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne
University) เนื่องจากมีบางวิชาที่ต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ในช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาที่ อีโคล นอร์เมล ซูพเรีย
เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลึก (Crystallography) ในปี ค.ศ. 1852 เมื่อปาสเตอร์จบการศึกษาแล้ว เขาได้ทำการทดลอง
เกี่ยวกับกรดทาร์ทาริก หรือกรดปูนที่ใช้ทำน้ำส้ม (Tartaric acid) จากผลงานการทดลองชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1849 เขาได้รับเชิญ
จากมหาวิทยาลัยสตราส์เบิร์ก (Strasburg University) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาเคมี

         ต่อจากนั้นในปี ค.ศ. 1854 ปาสเตอร์ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองลิลล์ (University of Lille) ให้ดำรงตำแหน่ง
ศาสตราจารย์วิชาเคมีและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยความที่เมืองลิลล์เป็นเมืองอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีทั้งเหล้า
เบียร์ และไวน์ และครั้งหนึ่งปาสเตอร์ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานทำแอลกอฮอล์จากน้ำตาลหัวผักกาดแห่งหนึ่ง ทำให้เขารู้ปัญหา
ของโรงงานที่ว่าเกิดการเน่าเสียของแอลกอฮอล์ และยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ ดังนั้นปาสเตอร์จึงนำตัวอย่างแอลกอฮอล์ไปตรวจสอบ
ในขณะนั้นมีนักวิทยาศาสต์ท่านหนึ่งสามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ เขาจึงนำกล้องจุลทรรศน์มาใช้ในการตรวจสอบ
ครั้งนี้ด้วย โดยในส่วนแรกเป็นแอลกอฮอล์ที่ดีเมื่องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูปรากฏว่า มีแบคทีเรียชนิดหนึ่งลำตัวกลมมีชื่อว่า ยีสต์
(Yeast) ซึ่งมีฤทธิ์เปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นแอลกอฮอล์และได้พบแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเป็นท่อน ๆ แบคทีเรียชนิดนี้มี
ชื่อว่า บาซิลลัส (Bacillus) ซึ่งมีฤทธิ์สามารถเปลี่ยนน้ำตาลแดงให้เป็นกรดแลคติกได้ หรือเป็นตัวการที่ทำให้แอลกอฮอล์มีคุณภาพ
ต่ำ จากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ปาสเตอร์เริ่มทำการทดลองเกี่ยวกับของหมักดอง ในที่สุดปาสเตอร์ได้พบว่า การหมักดองทำให้เกิด
กรดขึ้น 2 ชนิด ได้แก่ กรดซักซินิก (Succinic acid) และกลีเซอร์ไรน์ (Glycerin) การค้บพบครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากใน
วงการอุตสาหกรรมและเป็นการบุกเบิกการค้นคว้าหาสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากขึ้น ปาสเตอร์ได้ตั้งทฤษฎีการหมักดอง
(Fermentation Theory) กล่าวว่า การหมักดองเป็นผลมาจากจุลินทรีย์

         เมื่อเขาค้นพบว่าจุลินทรีย์ทำให้เกิดผลเสียมากมาย ปาสเตอร์จึงทำการค้นคว้าเกี่ยวกับจุลินทรีย์ต่อไป และพบว่า จุลินทรีย์
ที่มีอยู่ทั่วไปในอากาศทำให้เกิดความเจ็บป่วย และอาหารรวมถึงนมเน่าเสียได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้นวิธีการเก็บรักษาของให้อยู่ได้
นาน ๆ ก็คือ ต้องฆ่าจุลินทรีย์เหล่านี้ให้หมดไป ปาสเตอร์ได้ทดลองฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ โดยการนำนมมาต้มในความร้อน 145 องศา
ฟาเรนไฮต์ ทำให้เย็นลงโดยเร็วที่สุด ภายใน ? ชั่วโมง เพื่อให้จุลินทรีย์ตายหมด ก่อนนำไปบรรจุใส่ขวด จากนั้นใช้สำลีอุดปากขวด
ให้แน่นป้องกันไม่ใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าได้ ผลปรากฎว่านมสดอยู่ได้นานกว่าปกติ โดยที่ไม่เน่าเสีย จากนั้นปาสเตอร์ได้นำวิธีการดังกล่าว
ไปใช้กับเครื่องดื่มชนิดอื่น เช่น เหล้า เบียร์ น้ำกลั่น และไวน์ เป็นต้น วิธีการนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ พาสเจอร์ไรเซชัน
(Pasteurization) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากการค้นคว้าทดลองครั้งนี้ปาสเตอร์
ยังพบวิธีการทำน้ำส้มสายชูโดยใช้จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดเหล้าองุ่นมาเพาะ แล้วเติมลงไปในเหล่าองุ่นที่ผ่านวิธีพาสเจอร์ไรต์แล้ว
ด้วยวิธีการนี้จะได้น้ำส้มสายชูที่มีคุณภาพดี

         การค้นคว้าเรื่องจุลินทรีย์ของปาสเตอร์ไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ ในปี ค.ศ. 1865 เขาพบถึงสาเหตุของเซลล์ที่ตายแล้วเน่าเปื่อย
ก็เป็นผลมาจากเชื้อจุลินทรีย์เช่นเดียวกัน ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองต่อไป ด้วยปาสเตอร์กลัวว่าเมื่อฝังศพทั่งของสัตว์ และมนุษย์ลง
ในดินแล้ว ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นลงไปอยู่ในดินได้และอาจจะปนเปื้อนไปกับน้ำบาดาล เมื่อคนนำน้ำบาดาลไปดื่มโดยที่ไม่ต้องต้ม
ฆ่าเชื่อก่อน อาจจะทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ เมื่อการค้นคว้าของปาสเตอร์จบสิ้นลงผลปรากฏว่าเป็นดังเช่นที่ปาสเตอร์กล่าวไว ้คือ
มีจุลินทรีย์บางชนิดสามารถอยู่ในดินได้จริง เช่น เชื้อบาดทะยัก และแอนแทรกซ์ เป็นต้น

         ต่อมาเขาได้ทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดที่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตัวไหม ซึ่งทำความเสียหายอย่างหนักให้กับโรงงานอุตสาหกรรม
ผ้าไหม เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมได้มาขอความช่วยเหลือจากปาสเตอร์ เขาได้ทำการค้นคว้าเรื่องนี้อยู่นางถึง 5 ปี จึงพบว่าโรคนี้เกิดขึ้น
จากเชื้อจุลินทรีย์ชื่อว่า โนสิมา บอมบายซิล (Nosema Bombysis) ซึ่งตัวหนอนกินเข้าไป ดังนั้นปาสเตอร์จึงอธิบายวิธีการป้องกัน
โรคนี้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมฟังอย่างละเอียด ซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้เป็นอย่างดี จากผลงานทาวิทยาศาสตร์วิชาเคมี
ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) และในปีเดียวกันนี้เขาได้เผยแพร่ผลงานการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการ หมักดองออกมาอีกเล่มหนึ่งจากความสามารถของปาสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เขาได้เชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคม
อะเคดามี ออฟ เมดิซีน (Academy of Medicine)

         ในปี ค.ศ. 1887 ปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์ โดยเริ่มจากโรคที่ร้ายแรงที่สุด คือ โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ปาสเตอร์ใช้ปัสสาวะของสัตว์ที่ป่ายเป็นโรคแอนแทรกซ์มาเพาะเชื้อให้อ่อนกำลังลง แล้วไปทำวัคซีน การที่เขานำ
ปัสสาวะของสัตว์มาทำวัคซีนทำให้คนทั่วไปไม่เชื่อถือในวัคซีนของเขา ปาสเตอร์ต้องการให้สาธารณชนประจักษ์แก่สายตาจึงทำ
การทดลอง ปาสเตอร์ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมเกษตร (Agriculture Society) มอบแกะในการทดสอบวัคซีนถึง 50 ตัว
ปาสเตอร์แบ่งแกะออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 ตัว กลุ่มหนึ่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ฉีด จากนั้นจึงฉีด
เชื้อโรคแอนแทรกซ์ให้กับแกะทั้งหมด ผลปรากฏว่าแกะกลุ่มที่ฉีดวัคซีนไม่ป่วยเป็นโรคแอนแทรกซ์เลย แต่แก่กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน
ป่วยและเสียชีวิตหมดทุกตัว

          จากผลงานการค้นคว้าชิ้นนี้ ทางรัฐบาลประเทศฝรั่งเศสได้ขอร้องและมอบเงินสนับสนุนให้กับปาสเตอร์ในการค้นคว้าหา
วัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ ปาสเตอร์ทำการทดลองค้นคว้าและสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ได้สำเร็จ
โดยเขาผลิตวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนฉีดให้กับไก่
ปรากฏว่าไก่ที่ป่วยมีอาการดีขึ้นและหายไปในที่สุด

          การค้นพบวัคซีนที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุด คือ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าน แม้ว่าจะไม่ใช่โรคระบาดที่ร้ายแรงแต่ก็
สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนได้มากเพราะเมื่อผู้ใดที่ถูกสุนัขบ้ากัดแล้วต้องเสียชีวิตทุกรายไป สัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ก็ต้องตายโดย
ไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกัน จากการค้นคว้าปาสเตอร์พบว่าเชื้อสุนัขบ้าอยู่ในน้ำลาย ดังนั้นเมื่อถูกน้ำลายของสุนัขที่มีเชื้อโรคอยู่ไม่ว่าจะ
ทางใด เช่น ถูกเลียบริเวณที่เป็นแผล หรือถูกกัด เป็นต้น เชื้อโรคในน้ำลายก็จะซึมเาไปทางแผลสู่ร่างกายได้ ปาสเตอร์ได้นำเชื้อ
มาเพาะวัคซีน และนำไปทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี แต่ปาสเตอร์ไม่กล้านำมาทดลองกับคน จนกระทั่งวันหนึ่งโจเวฟ
เมสเตร์ เด็กชายวัย 9 ปี ถูกสุนัขบ้ากัด ถึงอย่างไรก็ต้องเสียชีวิต ดังนั้นพ่อแม่ของเด็กจึงได้นำบุตรชายมาให้ปาสเตอร์รักษาซึ่งเป็น
โอกาสดีที่ปาสเตอร์จะได้ทดลองยา ปรากฏว่าเด็กน้อยไม่ป่วยเป็นโรคสุนัขบ้าน การค้นพบครั้งนี้ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น

         ในปี ค.ศ. 1888 ปาสเตอร์ได้ก่อตั้งสถาบันปาสเตอร์ (Pasteur Institute) ขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นสถาบัน
ปาสเตอร์ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่ง ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยในประเทศไทยใช้ชื่อว่า สถานเสาวภา
สถาบันปาสเตอร์ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดต่อชนิดต่าง ๆ เช่นโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
ปาสเตอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895



3. กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)



นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาเมธี ชาวอิตาเลี่ยน
เกิด 15 กุมภาพันธ์ คศ.1564 ที่ เมืองปิซ่า อิตาลี
เสียชีวิต 8 มกราคม คศ.1642
        กาลิเลโอ เป็นคนที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์มาก แต่บิดาของเขาอยากให้เรียนวิชาการแพทย์ เพราะสามารถหาเงินง่ายและเป็นที่นับถือแต่เขาไม่ชอบเอาเสียเลย นอกจากนี้เขายังสนใจด้านศิลปะภาพเขียน เขายังมีความสามารถด้านดนตรี บิดาของกาลิเลโอเป็นนักคณิตศาสตร์และดนตรีและนักเขียนพอมีชื่อเสียงแต่ฐานะไม่รำรวย แต่เขาไม่อยากให้บุตรชายเป็นเหมือนเขา จึงได้ส่งเขาไปร่ำเรียนในมหาวิทยาลัยเมืองปิซาด้านการแพทย์ จนอายุได้ 19 ปี มีศาสตราจารย์คนหนึ่งมาสอนเรื่อง คณิตศาสตร์ เขาได้แอบเข้าไปเรียนด้วย จนกระทั่งกล้าซักถามปัญหาและต่อมาหลังจากได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ เมืองปิซ่า กาลิเลโอ เคยไปสวดมนต์ที่โบสถ์เขาสังเกตเห็นโคมไฟในโบสถ์ถูกลมพัดแกว่งไป-มา เมื่อลมหยุดตะเกียงแกร่งสั้นเข้าๆ จนในที่สุดมันก็หยุด เขาได้ความรู้ว่าแม้ช่วงที่แกร่งสั้นเข้า แต่ความเร็วก็ไม่ได้ลดลงเลย ความคิดนี้เขาได้นำมาประดิษฐ์นาฬิกาลูกตุ้มให้แก่พ่อของเขาเรือนหนึ่ง อีกครั้งหนึ่งเขานับจังหวะการแกว่งของโคมไฟกับการเต้นของหัวใจ จนประดิษฐ์เครื่องมือวัดการเต้นของหัวใจได้ว่าเต้นนาทีละกี่ครั้ง เขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ของแม้จะมีน้ำหนักต่างกันแต่ตกถึงพื้นพร้อมกัน โดยขึ้นไปบนหอเอียงปิซ่า เอาของที่มีน้ำหนักต่างกันทิ้งลงมา ปรากฎว่าถึงพื้นดินพร้อมกันซึ่งหลักอันนี้แม้จะขัดกับคำพูดของอริสโตเติลแต่ก็เป็นความจริง นอกจากนี้เขายังค้นพบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีด้วยกล้องโทรทัศน์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นมา และเขาก็ได้พิสูจน์ได้ว่า โลกไม่ได้อยู่นิ่งๆหรือเป็นศูนย์กลางของดวงดาวทั้งหลายแต่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้คณะบาทหลวงและกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับเขาและโป้ปฟ้องหาว่าเขาเป็นคนนอกศาสนา (เพราะไปขัดแย้งกับแนวคิดทางศาสนา กับ อริสโตเติ้ล)ห้ามไม่ให้เขาเผยแพร่ความคิดนี้ และประกาศให้คนทั่วไปทราบว่าความคิดของเขาผิด เขาได้เป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ ที่อายุน้อย คือ 24 ปี ทั้งที่ไม่มีใบปริญญาที่เมืองปิซา แต่อยู่ได้ไม่นานต้องลาออกไปเพราะไปขัดแย้งของของตกจากที้สูงที่ขัดแย้งกับ อริสโตเติล จนได้ไปสอนที่มหาวิทยาลับปาดัว (University of Padua) ที่ยาวนานถึง18 ปี ในบั้นปลายชีวิตของกาลิเลโอ นั้นน่าสงสารยิ่ง เพราะเขาป่วยจนตาบอดเพราะมาจากการใช้สายตาส่องดูกล้องมากเกินไป จนตายไป แม้ตอนตายหลุมศพเขายังห้ามมิให้มีแผ่นศิลาจารึกให้เขาอีกด้วย ศพของเขาได้ถูกนำไปฝัง ณ Church of Santa Croce หลังจากนั้นอีก 50 ปี ก็ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ไว้เป็นเกียรติกับความสำเร็จของเขาในกาลต่อมาก็เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก


ผลงานค้นพบที่สำคัญของ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)


·  ได้ตั้งกฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือกฎการแกว่งของนาฬิกาลูกตุ้ม
·  การค้นพบเรื่องของหนักกับของเบาจะตกลงถึงพื้นพร้อมๆกัน
·  ผู้ค้นพบหลักวิชาพลศาสตร์ (Dynamic) การเคลื่อนไหวของระยะการยิงปืนใหญ่วิถีกระสุนจะเป็นวิถีโค้ง
·  สร้างกล้องโทรทัศน์ดูดาวบนท้องฟ้า ผิวของดวงจันทร์ การค้นพบความแตกต่างของดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์ว่าดาวเคราะห์มีลักษณะเหมือนดวงจันทร์ ส่วนดาวฤกษ์นั้นมีแสงสว่างพุ่งออกมา และยังค้นพบจุดดำบนดวงอาทิตย์
·  พบทางช้างเผือก (Milky Way)

ผลงานด้านงานเขียน ของ กาลิเลโอ


·  Hydrostatic Balance บทความที่ว่าด้วยเรื่องตาชั่ง
·  Center of Gravity of Solid, หนังสือว่าด้วยจุดศูนย์ถ่วงของของแข็ง
·  Letter on the Solar Spots,หนังสือว่าด้วยจุดดำในดวงอาทิตย์และระบบสุริยะว่าโลกและดาวเคราะห์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางระบบสุริยะ
·  Dialogo Die Due Massimi Sistemi Del Mondo หนังสือต้องห้ามที่ห้ามจำหน่ายใน อิตาลีเพราะผิดกับระบบศาสนาคริสต์ในสมัยนั้น ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับดาวหางนั้นมาจากเกิดแสงของดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับรุ้งกินน้ำ
·  ค้นพบทางช้างเผือก (Milky Way)


4. มารี กูรี (Marie Curie)




ผลงาน : - เป็นผู้ค้นพบแร่เรเดียมร่วมกับสามี คือ ปีแอร์ คูรี่
- ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1911
มารี คูรี่  ผู้ค้นพบแร่เรเดียม นักวิยาศาสตร์ที่รักการค้นคว้ายิ่งกว่าชีวิตของตัวเองและเสียชีวิตด้วยรังสีของแร่เรเดียมซึ่งเธอได้คลุกคลีกับมันมาเป็นเวลานาน แร่เรเดียมที่นับได้ว่าช่วยให้คนรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมาก กลับทำงานชีวิตของเธอเองอย่างน่าเสียดาย
มารี คูรี่ เกิดในประเทศโปแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1867 เป็นบุตรีของศาสตราจารย์ วลาดิสลาฟสโคลโดว์สกา ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์และคำนวณ ซึ่งเธอได้รับการถ่ายทอดวิชาวิทยาศาสตร์จากบิดามาตั้งแต่เด็ก มารีสนใจในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพมาก จึงได้เดินทางไปไปศึกษาในมหาวิทยาลัยซอร์บอน ในกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส
เมื่ออายุได้ 27 ปี เธอได้รู้จักกับปีแอร์ คูรี่ นักฟิสิกส์และเคมีชาวฝรั่งเศส และได้แต่งงานกันเมื่อปี ค.ศ. 1895 ซึ่งปีแอร์มีส่วนช่วนในการค้นพบครั้งสำคัญนี้อย่างมาก
มารี คูรี่ กับสามีได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างไม่หยุดยั้ง เธอแยกธาตุออกจากแร่พิทช์เบลนน์ได้เป็นส่วนย่อย จนกระทั่งพบธาตุใหม่อีกธาตุหนึ่ง ในขั้นแรกเธอให้ชื่อว่า โปโลเนียม(Polonium) ซึ่งมีคุณสมบัติทางกัมมันตภาพรังสีอยู่มาก จนต่อมา เธอตัดสินใจเรียกธาติใหม่นี้ว่าเรเดียม (Radium) ซึ่งมีคุณสมบัติสูงกว่ายูเรเนียม ถึง 2 ล้าน 5 แสนเท่า เรเดียมสามารถแยกก๊าซหรืออากาศได้ และยังทำให้เกิดแสงเรือง มีพลังความร้อน ซ้ำยังเป็นโลหะที่มีอานุภาพทำลายชีวิตมนุษย์ได้อีกด้วย
ปีแอร์ และมารี คูรี่ ได้รับการยกย่องในผลสำเร็จครั้งนี้อย่างมาก แม้ในต่างประเทศ เช่นสมาคมวิทยาศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ของอังกฤษ ได้มองเหรียญเดวี่ให้เป็นเกียรติแก่บุคคลทั้งคู่ มารี คูรี่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี ค.ศ.1911
ในขณะที่บุคคลทั้งสองกำลังรุ่งโรจน์อยู่นั้น เหตุการณ์ก็เกิดขึ้นในตอนเช้าของวันที่ 19เมษายน ค.ศ. 1906 ปีแอร์ คูรี่ สามีของเธอก็ประสบอุบัติเหตุ และถึงแก่ความตายทันที ยังความเศร้าสลดใจมาให้แก่มารี คูรี่อย่างสุดซึ้ง และเกือบจะทำให้เธอทอดทิ้งผลงานต่าง ๆที่ทำค้างไว้ทั้งสิ้น แต่ในไม่ช้าเธอก็หวนกลับมาสู่การค้นคว้าผลงาน ของเธอต่อไป
ในปี ค.ศ.1934 มารี คูรี่ ก็ล้มเจ็บลง ด้วยลักษณะอาการของคนที่มีอาการอ่อนเพลีย หมดแรงลงอย่างรวดเร็วและถึงแก่กรรม เมื่อเช้าวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 แพทย์ตรวจพบภายหลังว่ากระดูกไขสันหลังของเธอถูกทำลายด้วยรังสีของแร่เรเดียม ซึ่งเธอได้คลุกคลีกับมันมาเป็นเวลานาน แร่เรเดียม ที่นับว่าได้ช่วยให้คนรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมากนั้น กลับทำลายชีวิตของเธอเองอย่างน่าเสียดาย